ท้องผูก

ท้องผูก

หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ โดยมีลักษณะอุจจาระที่แข็ง หรือมีอาการถ่ายลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากเวลาถ่ายอุจจาระ หรือใช้เวลาในการขับถ่ายเป็นเวลานาน หรือมีอาการถ่ายไม่สุด มีอาการปวดอยากถ่ายอีกภายหลังจากถ่ายอุจจาระไปแล้ว ต้องใช้นิ้วหรือใช้น้ำช่วยในการขับถ่าย

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น

  • จากโรคต่างๆ เช่น
    • เบาหวาน
    • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
    • ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
    • โรคทางระบบประสาทต่างๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือมีโรคที่สมองหรือไขสันหลัง โรคพาร์กินสัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
    • ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • จากยาที่รับประทานประจำ มียาหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น
    • ยาในกลุ่ม tricyclic antidepressant เช่น amitriptyline หรือ nortriptyline ยารักษาอาการซึมเศร้า
    • ยาที่ทำให้การบีบตัวของทางเดินอาหารน้อยลง ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง เช่น Buscopan®
    • ยารักษาโรคพาร์กินสัน
    • ยากันชัก เช่น Dilantin®
    • ยาลดความดันโลหิต ได้แก่ diltiazem, verapamil, clonidine
    • ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีนหรืออนุพันธ์ของมอร์ฟีน เช่น พาราเซตามอลชนิดที่มีส่วนผสมของโคเดอีน
    • เหล็กที่มีอยู่ในยาบำรุงเลือด
    • ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียมหรืออะลูมิเนียม
    • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เช่น diclofenac, piroxicam และ indomethacin
    • ยาอื่นๆ เช่น cholestyramine
  • จากการอุดกั้นของลำไส้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดท้องผูกได้ ได้แก่
    • มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
    • ลำไส้ตีบตัน (stricture)
    • ลำไส้บิดพันกัน (volvulus)
    • ความผิดปกติที่ทวารหนัก เช่น ภาวะช่องทวารหนักหย่อน (rectocele) การมีทวารหนักยื่น (rectal prolapse) การตีบของทวารหนัก (anal stenosis)
  • จากการทำงานของลำไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ
    • การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (anorectal dysfunction หรือ anismus)
    • การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติหรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกัน ทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ (colonic inertia)
    • ภาวะลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น
    • มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
    • รับประทานอาหารที่มีกากและดื่มน้ำน้อย
    • มีนิสัยในการขับถ่ายไม่ดี

ลักษณะและอาการเตือนที่ผู้ป่วยท้องผูกควรรีบพบแพทย์

  • มีอาการซีด
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมีมูกเลือด
  • น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ท้องผูกและมีอาการปวดท้องมาก ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยท้องผูก

  • การซักประวัติผู้ป่วย แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย เช่น ความลำบากในการเบ่งถ่ายอุจจาระ ระยะเวลาของอาการท้องผูกและลักษณะของอุจจาระ ยาที่รับประทานประจำ โรคประจำตัว อาการอื่นๆ ที่เป็นร่วมกับอาการท้องผูก ประวัติในครอบครัวเกี่ยวกับโรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น
  • การตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อหาอาการบ่งชี้ของการมีเนื้องอก เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อหาหลักฐานที่บ่งบอกสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องผูก เช่น บวม ผิวแห้ง เชื่องช้า ซึ่งเป็นลักษณะของต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ และการมีความผิดปกติของระบบประสาทซึ่งบ่งถึงโรคทางระบบประสาทที่อาจเป็นสาเหตุของท้องผูกได้ เป็นต้น
  • การตรวจทวารหนัก (rectal examination) เพื่อตรวจดูลักษณะผิวหนังรอบๆ ทวารหนักว่ามีการอักเสบหรือมีแผลหรือไม่ รวมถึงสังเกตความผิดปกติอื่นๆ เช่น ริดสีดวงหรือการมีทวารหนักยื่น เป็นต้น นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจโดยใช้นิ้วมือสอดเข้าไปภายในทวารหนักเพื่อตรวจดูว่ามีก้อนเนื้องอกภายในทวารหนักหรือไม่ และประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
    • การตรวจเลือด ในผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่าจะเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำหรือแคลเซียมในเลือดสูง แพทย์อาจสั่งตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์หรือระดับแคลเซียมในเลือด
    • การส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) หากผู้ป่วยมีลักษณะเตือน เช่น ซีด น้ำหนักลด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์อาจทำการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่เพื่อให้แน่ใจว่าอาการท้องผูกที่เป็นอยู่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากมะเร็งลำไส้ใหญ่
    • การตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่และการทำงานของทวารหนัก ได้แก่
      • การตรวจดูการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ (colon transit test)
      • การตรวจดูการทำงานของทวารหนักและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย (anorectal manometry) เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า manometry ตรวจวัดแรงบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก รวมทั้งแรงดันภายในทวารหนักที่เกิดจากแรงเบ่ง และการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดขณะเบ่งถ่าย
      • การทดสอบการเบ่งลูกโป่ง (balloon expulsion test)

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากท้องผูก

ผู้ป่วยท้องผูกที่ต้องเบ่งอุจจาระแรงๆ และบ่อยๆ เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการหย่อนยานของกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน (excessive pelvic floor descent) ถ้ามีการหย่อนยานมากๆ อาจทำให้เกิดการดึงรั้งของเส้นประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักและเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณทวารหนักและผิวหนังรอบๆ ทำให้เกิดอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรือมีการปลิ้นของลำไส้ใหญ่ (prolapse rectal) ตามมาภายหลัง ในผู้ป่วยบางรายอาจทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ภายในทวารหนัก (solitary rectal ulcer syndrome)
 

แนวทางการป้องกันและการรักษา

  • ให้การรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดท้องผูก หากผู้ป่วยมีอาการท้องผูกเนื่องจากโรคทางกาย แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ หรือการให้ฮอร์โมนทดแทนในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เป็นต้น
  • ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาและตอบสนองต่อความรู้สึกอยากถ่าย โดยทั่วไปความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักเกิดหลังจากผู้ป่วยตื่นนอนในตอนเช้าและช่วงเวลาหลังอาหารเช้า ในทางปฏิบัติหลังตื่นนอนตอนเช้าเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกควรตื่นแต่เช้าเพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการดื่มน้ำและรับประทานอาหารเช้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากถ่ายและมีเวลาเดินเพื่อกระตุ้นความรู้สึกอยากถ่ายโดยไม่รีบเร่ง ผู้ป่วยไม่ควรกลั้นอุจจาระเมื่อมีความรู้สึกอยากถ่าย เนื่องจากความรู้สึกนี้จะอยู่กับเราในระยะเวลาสั้นๆและจะหายไป ทำให้เกิดปัญหาการถ่ายลำบากเนื่องจากอุจจาระที่ค้างในลำไส้นานๆ จะใหญ่และแข็ง ส่งผลให้อาการท้องผูกเป็นมากยิ่งขึ้น
  • การรับประทานอาหารที่มีกากใย ในผู้ที่มีอาการท้องผูกไม่รุนแรง การรับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้นจะช่วยทำให้ปริมาณอุจจาระมากขึ้นและเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่เร็วขึ้น แต่สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกรุนแรง การเพิ่มปริมาณกากอาหารหรือไฟเบอร์ในอาหารที่รับประทานอาจทำให้มีอาการท้องอืดและถ่ายอุจจาระลำบาก เนื่องจากอุจจาระแข็ง
  • การดื่มน้ำ การขาดน้ำจะทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับมากขึ้น ทำให้อุจจาระมีก้อนแข็งมากและถ่ายลำบาก ดังนั้นการดื่มน้ำมากขึ้นจะทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายได้ง่ายขึ้น
  • การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวเป็นประจำทุกวันจะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น ทำให้ถ่ายได้บ่อยขึ้น ผู้ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกายอาจเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย
  • การใช้ยาระบาย ยาระบายมีมากมายหลายชนิดซึ่งมีการออกฤทธิ์แตกต่างกัน เช่น ยาระบายที่ออกฤทธิ์โดยการทำให้ปริมาณอุจจาระมากขึ้น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการดูดน้ำกลับเข้ามาในลำไส้มากขึ้น ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ยาระบายชนิดสวน เป็นต้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
  • การฝึกการขับถ่าย (biofeedback training) เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักเทคนิคในการถ่ายที่ถูกวิธีโดยใช้เครื่องมือที่แสดงถึงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย (biofeedback)
  • การตัดลำไส้ออก อาจใช้ในกรณีของผู้ป่วยที่ท้องผูกจากลำไส้เคลื่อนไหวช้าและรับประทานยาแล้วยังไม่ได้ผล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • การรักษาอื่นๆ เช่น การฉีดยา botulinum toxin ที่กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักในผู้ที่ฝึกเบ่งแล้วไม่ได้ผล หรือการผ่าตัดเปิดลำไส้ที่ผนังหน้าท้องแทนการถ่ายทางทวารหนัก

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

ท้องผูก เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!