ปวดเข่าอย่างนี้…เป็นเพราะอะไร

ปวดเข่าอย่างนี้…เป็นเพราะอะไร

ข้อเสื่อมหรือปวดข้อ พบเป็นสาเหตุอันดับแรกของอาการปวดข้อในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือหลังวัยหมดประจำเดือน และจะพบมากตามอายุที่มากขึ้น ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ค่อยมีโรคแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรง แต่ก็สร้างความทรมาณและลำบากให้แก่ผู้สูงอายุได้เยอะทีเดียว และที่เป็นกันอย่างกว้างขวางคงจะหนี ข้อเข่าเสื่อม” ไปไม่ได้
แม้ข้อเข่าจะเป็นเพียงส่วนประกอบของร่างกายที่หลายคนมองข้าม แต่ก็มีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายมากเลยทีเดียว หลายคนมีพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร

ข้อเข่าก็เปรียบเสมือนบานพับที่เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง ซึ่งปลายกระดูกทั้งสองจะมีกระดูกอ่อนคลุมไว้ และจะมีน้ำเลี้ยงคอยหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกในขณะที่เราเคลื่อนไหว ดังนั้นการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวนี่เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าติดขัด และเกิดการอักเสบ บวม และรู้สึกปวดตามมา อาการเหล่านี้คือ อาการข้อเข่าเสื่อม”

สาเหตุสำคัญ

เกิดจากข้อเสื่อมตามวัย หรือข้อรับน้ำหนักมากเกินไปหรือมีการบาดเจ็บ ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึกกร่อนและมีกระดูกงอกเพราะมีหินปูนมาเกาะขรุขระ เวลาเคลื่อนไหวข้อจึงทำให้เกิดอาการปวดในข้อ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ น้ำหนักมาก ข้อที่เป็นได้บ่อย มักเป็นข้อที่รับน้ำหนักมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกคอ

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปวด เข่า สะโพก หลัง ต้นคอ หากปวดนาน ๆ จนกลายเป็นการปวดเรื้อรังอาจมีเสียงดังกรอบแกรบขณะที่เคลื่อนไหว อาการปวดข้อนี้มักจะเป็นตอนกลางคืน หรือเวลาอากาศเย็นชื้น หรืออากาศเปลี่ยนแปลง ข้อที่ปวดมักจะไม่มีอาการบวมแดงร้อน แต่ถ้าเป็นมาก อาจมีอาการบวม และมีน้ำขังอยู่ในข้อ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปเป็นปกติทุกอย่าง

การรักษา

1.ปัจจุบันการรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้หลายวิธี โดยหากอาการของโรคยังไม่รุนแรง ถ้ามีอาการปวดให้พักข้อที่ปวด อย่าเดินมาก ยืนมาก ใช้น้ำร้อนประคบและกินยาแก้ปวดพาราเซตามอล บรรเทา เป็นครั้งคราว ถ้ามีอาการปวดมาก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
2.พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อาการปวดข้อกำเริบ เช่น ห้ามยกของหนัก อย่ายืนนาน นั่งพับเพียบ หรือขัดสมาธิ เป็นต้น พยายามนั่งในท่าเหยียดเข่าตรง
3.พยายามบริหารกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวข้อให้แข็งแรง แต่การฝึกกล้ามเนื้อควรเริ่มทำเมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว
4. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ หรือบวมตามข้อ หรือมีอาการปวดร้าวหรือชาตามแขน ร่วมกับปวดคอ ขา หรือหลัง แนะนำให้ไปโรงพยาบาล

ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว โดยวิธีนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อในข้อเข่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดที่รุนแรงเรื้อรังมานาน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การผ่าตัดเอาข้อที่เสื่อมสภาพออก จากนั้นแพทย์จะใส่ข้อใหม่ซึ่งทำมาจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แพทย์จะปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ

• ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด

• สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูป เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่า
   ลีบ ต้องมีการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูต่อไป

• ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด

ระยะเวลาของข้อเข่าเทียม

ในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ข้อเข่าเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม สภาพของข้อเข่าเทียมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม ซึ่งผู้ป่วยควรดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งแบบยอง ๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ และหมั่นดูแลตัวเองไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ก็จะช่วยให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้

วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด

• เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ

• งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง

• แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด

• งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์

• ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายใน
ระหว่างการผ่าตัด

หลังการผ่าตัด

• งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง

• งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์

นับว่าการผ่าตัดนั้นจำเป็นต้องอาศัยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญพิเศษ โดยต้องทีมแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมการผ่าตัดจากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการปรึกษาและตรวจกับแพทย์โดยตรงจะดีกับสุขภาพของท่าน เพราะตรวจรักษาก่อนมีอาการมากจะดีกว่าตามแก้

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

ปวดเข่าอย่างนี้…เป็นเพราะอะไร เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอาย

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!