มาป้องกันโรคซึมเศร้า…อันตรายใกล้ตัวของคนยุคดิจิตอลกัน

มาป้องกันโรคซึมเศร้า…อันตรายใกล้ตัวของคนยุคดิจิตอลกัน

   โรคซึมเศร้า พบได้บ่อยในสังคมยุคดิจิตอลที่อะไรๆ ก็รวดเร็ว ส่งต่อข้อมูลได้อย่างทันทีทันใด ทำให้สังคมมนุษย์เรายิ่งใกล้ยิ่งห่าง ยิ่งนั่งข้างกันยิ่งไม่คุยกัน ยิ่งต่างคนต่างก้มหน้าหาโลกโซเชียลกันทั้งวัน ยังไม่นับความเครียดสะสมจากงาน รถติดบนท้องถนน ปัญหาความสัมพันธ์ที่โลกออนไลน์ทำให้คนเรายิ่งห่างกันมากขึ้นในชีวิตจริง แล้วเราล่ะ อยู่ใกล้โรคซึมเศร้ามากแค่ไหน หรือมีคนใกล้ตัวเราที่อยู่ในภาวะนี้ แต่เราอาจไม่รู้หรือเปล่า มาดูกัน!

เข้าใจก่อนว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจิต แค่มีความผิดปกติที่สารเคมีในสมอง
   ถึงแม้โรคซึมเศร้าเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากความเครียดสะสม ปัญหาที่หาทางออกไม่ได้ การสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิต การมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางชนิด แต่สาเหตุหลักๆ คือความผิดปกติ หรือไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อย่างสารเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) ที่ลดลงกว่าระดับปกติ จึงส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด และระดับความสุขในชีวิตของผู้ที่มีภาวะโรคซึมเศร้า

8 สัญญาณ ให้คนทำงานหมั่นสังเกตตัวเองเบื้องต้น ก่อนเสี่ยงโรคซึมเศร้า
   เมื่อไหร่ที่เริ่มสับสนว่าเราแค่เครียดเรื่องงาน หรือเป็นอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้ากันแน่นะ ให้ลองสังเกต 8 สัญญาณนี้ ถ้ามีมากกว่า 5 อาการ ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ สงสัยเลยว่าเราอาจต้องรีบหาทางแก้ หรือปรึกษาแพทย์ก่อนจะเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าขั้นเรื้อรัง
1. รู้สึกว่างเปล่า หรือสิ้นหวัง อยู่ๆ ก็มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเองอย่างที่เคยเป็น
2. เบื่อในสิ่งที่เคยชื่นชอบ ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชอบทำอีกต่อไป
3. นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ นอนนานผิดปกติ
4. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไร
5. ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ รู้สึกกระสับกระส่าย หงุดหงิด กระวนกระวายใจ
6. น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือลดลงมากแบบผิดปกติ เพราะพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
7. ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจอย่างที่เคยเป็น
8. มีความคิดว่าอยากตาย รู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ (ข้อนี้สำคัญมาก มีสัญญานนี้เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์โดยด่วน)

มาป้องกันโรคซึมเศร้าแบบมนุษย์ยุคดิจิตอลกัน

   ต้องยอมรับก่อนว่าโลกโซเชียลก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนวัยทำงานเราเข้าใกล้โรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น งั้นมาดูวิธีป้องกันแบบทำตามได้จริงสำหรับการใช้ชีวิตในยุคออนไลน์
1. จำกัดเวลาการใช้สมาร์ทโฟน นอกเหนือจากการใช้เพื่อทำงาน ควรตั้งกฏกับตัวเองว่าเราจะเล่นโซเชียลวันละไม่เกิน 1 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อครบแล้วให้วางทันที แล้วลุกไปทำกิจกรรมอื่นแทน
2. ดูคอนเทนต์อะไรที่เปิดโลก และสร้างสรรค์ ถ้าวางมือถือลงไม่ได้จริงๆ แนะนำให้ดูคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ไปเลย แทนที่จะส่องเฟซบุ๊คชาวบ้านไปทั่ว ลองเปลี่ยนเป็นเข้า Netflix หรือ YouTube แล้วดูรายการประเภทที่จะจุดประกายชีวิตเรา เช่นเรื่องราวของนักสร้างสรรค์งานทั่วโลก บุคคลเจ๋งๆ ที่มีแนวคิดอะไรที่เปิดมุมมองใหม่ๆ หรือแม้แต่สารคดีอาหาร หรือการท่องเที่ยวต่างประเทศ ก็จะทำให้คุณรู้สึกว่า เอ้อ!!! โลกนี้ยังมีอะไรน่าสนใจอีกเพียบ ทำให้เราอยากออกไปใช้ชีวิตให้มากขึ้น
3. ทำ Vlog ในสิ่งที่เราถนัด และแชร์ออกไป ถ้าเพิ่งคิดว่ามันยาก ให้คุณลองค้นหาตัวเองดูว่าอะไรที่เราทำได้ดี เรื่องไหนที่เราเชี่ยวชาญ สิ่งไหนที่เราเล่าให้เพื่อนฟังทีไร เพื่อนจะต้องร้องว๊าววว นั่นแหละคือความเจ๋งในตัวคุณ แค่เล่ามันออกมา ถ่ายวิดีโอตัวเองแบบง่ายๆ ฝึกตัดต่อวิดีโอด้วยสมาร์ทโฟน แล้วแชร์ออกไปบนโลกโซเชียล แค่นี้คุณก็จะสนุก และได้อินสไปร์คนอื่นๆ ต่อไปอีกด้วย

    อย่าลืมว่าหัวใจสำคัญของการป้องกันโรคซึมเศร้า คือการมีความสุขในชีวิต เห็นคุณค่าในตัวเอง รักตัวเองเป็น ดังนั้นแค่คุณอย่าเก็บตัวอยู่เฉยๆ ลุกขึ้นมาทำกิจกรรมอะไรก็ได้ ขอเพียงลงมือทำ แล้วคุณจะมองเห็นข้อดีในทุกสิ่งที่ทำได้แน่นอน

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

มาป้องกันโรคซึมเศร้า…อันตรายใกล้ตัวของคนยุคดิจิตอลกัน เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอาย

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!