สัญญาณเตือนของภาวะ “ข้อเข่าเสื่อม”

สัญญาณเตือนของภาวะ “ข้อเข่าเสื่อม”

ข้อเข่าเสื่อม เป็นอาการทางกระดูกและข้ออันดับ 1 ของคนไทย มักเกิดในช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป แต่ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันส่งผลให้เกิดอาการ “ข้อเข้าเสื่อม” ก่อนวัยอันควรมากขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะของข้อเข่าเป็นอวัยวะส่วนที่ถูกใช้งานมากมาโดยตลอดในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด ลุก นั่ง อีกทั้ง ข้อเข่ายังต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวเราด้วย และยิ่งต้องรองรับน้ำหนักหรือแรงกดกระแทกมากเท่าไหร่ การเกิดภาวะสึกหรอก็มีมากขึ้นเท่านั้น

เมื่อใดก็ตามที่มีอาการเหล่านี้สงสัยได้ว่าเสี่ยง “ข้อเข่าเสื่อม”

อาการปวดเข่า เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักปวดมากขึ้นเมื่อใช้งาน และลดลงหลังจากการพัก เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น

•         ตึงน่อง เมื่อยน่อง เข่าบวม

•         รู้สึกข้อฝืดขณะเคลื่อนไหว บางครั้งรู้สึกเจ็บ

•         เคลื่อนไหวแล้วไม่มั่นคง เหมือนเข่าหลวม

•         มีเสียงเสียดสีจากภายในข้อ แต่ไม่ใช่เสียงดังกรอบแกรบเวลาขยับ (หากเป็นเสียงที่หูได้ยินเวลาขยับ นั่นอาจบอกว่ากล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ข้อเข่าหย่อน ไม่กระชับ)

•         งอเข่า เหยียดข้อได้ไม่สุดเหมือนเคย

•         เข่าผิดรูป โก่งออกนอก

เมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น มักปวดในช่วงเวลากลางคืน ในบางรายอาจคลำเจอส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ หากปล่อยไว้นานจนข้อเสื่อมมากขึ้นเรื่อยๆ จะพบว่าเหยียด หรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างยากลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดิน หรือขยับ

พฤติกรรมแบบไหนที่ทำให้เข่าเสื่อมเร็ว?

การที่เรามีพฤติกรรมเดิมๆ ทำซ้ำๆ ล้วนยิ่งทำร้ายข้อเข่า เช่น นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ คลานเข่า คุกเข่า หรือเคยเกิดอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ การที่เรามีน้ำหนักตัวมากเกินไปก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เข่าต้องทำหน้าที่รับแรงกดกระแทกจากอิริยาบถในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน หรือนั่ง จะเห็นได้ว่าแพทย์มักแนะนำเรื่องควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์พอดีสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

รู้หรือไม่ว่าการกระโดด ก็เป็นหนึ่งพฤติกรรมที่ทำร้ายข้อเข่า

ในขณะที่ความจริงข้อเข่าสามารถรับแรงอัดกระแทกได้ถึง 7 เท่า แม้การกระโดดจะมีแรงอัดกระแทกประมาณ 3-5 เท่า แต่หากทำซ้ำบ่อยๆ กระดูกส่วนที่ทำหน้าที่รองรับก็จะสึกหรอเร็วขึ้น
มีวิธีการรักษาอย่างไร และสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการ และบรรเทาอาการปวดลงได้ สามารถกลับมาใช้ข้อเข่าในแบบภาวะใกล้เคียงปกติมากที่สุด ซึ่งวิธีการรักษาจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ความรุนแรงของโรค การใช้งานที่คาดหวัง และความพร้อมของผู้ให้การรักษา การรักษามีแนวทางหลัก 2 วิธี

•         การรักษาแบบไม่ผ่าตัด สามารถเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่นหลีกเลี่ยงการยืน หรือเดินเป็นระยะเวลานาน การนั่งงอเข่า เช่น คุกเข่า พับเพียบ ยองๆ ขัดสมาธิ ลดน้ำหนักตัว รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัด การใช้ยา การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ ซึ่งเป็นทางเลือกช่วยลดอาการปวดและช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อดีขึ้น เป็นต้น

•         การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด วิธีการนี้จะถูกนำมาใช้ในการรักษาต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ โดยผู้ป่วยที่รับการรักษาไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ได้แล้ว หรือผลการรักษาวิธีอื่นล้มเหลว โดยที่ผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดเข่ารุนแรงจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานได้ปกติ ดังนั้น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม” จึงเป็นหนทางในการรักษา โดยเป็นการผ่าตัดเอาผิวข้อที่สึกออกไป และทดแทนด้วยผิวข้อเทียม การทำกายภาพหลังจากการผ่าตัด จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมากิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

สัญญาณเตือนของภาวะ “ข้อเข่าเสื่อม” เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอาย

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!