อ้วนแล้วไง… โรคภัยถามหา

อ้วนแล้วไง… โรคภัยถามหา

โรคอ้วน (Obesity) และภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ จึงเกิดการสะสมพลังงานที่เหลือนั้นเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา

  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ความดันโลหิตสูง
  • ระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน ไขมันเกาะตับ
  • ระบบต่อมไร้ท่อและนรีเวช เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
  • ระบบข้อและกล้ามเนื้อ เช่น ข้อเสื่อม เกาต์
  • ระบบผิวหนัง เช่น ติดเชื้อราบริเวณขาหนีบหรือรอยพับของผิวหนัง เส้นเลือดขอด
  • เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง เช่น เต้านม มดลูก/ปากมดลูก ลำไส้ใหญ่
  • สุขภาพจิต เช่น รู้สึกเสียความมั่นใจในการเข้าสังคม ภาวะซึมเศร้า

เมื่อไรถึงจะเรียกว่าอ้วน ?

ในปัจจุบันมีการให้คำจำกัดความของโรคอ้วนไว้ว่า เป็นภาวะที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ โดยคิดจากค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index) ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตร1

ดัชนีมวลกาย (BMI) =  น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) 2
 

การแบ่งระดับโรคอ้วนในผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี โดยใช้ดัชนีมวลกายของคนไทย1

สภาวะร่างกายดัชนีมวลกาย
(กก./ม.2)
น้ำหนักตัวปกติ18.5 – 22.9
น้ำหนักตัวเกิน
(Overweight)
23.0 – 24.9
อ้วนระดับ 125.0 – 29.9
อ้วนระดับ 2≥ 30.0

ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น3 ?

ปัจจัยทางสรีรวิทยาปัจจัยทางพฤติกรรม
กรรมพันธุ์ หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะอ้วนได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ การตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์อาจมีความเชื่อว่าการบริโภคอาหารมากๆ จะทำให้ทารกคลอดออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ ประกอบกับมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง จึงส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ การหยุดสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่ทำให้ต่อมรับรสลดลง เมื่อหยุดสูบบุหรี่ทำให้การรับรสเป็นปกติ จึงรับประทานอาหารได้มากขึ้น การรับประทานยาบางชนิดที่อาจทำให้น้ำหนักขึ้น เช่น ยาจิตเวช ยากันชัก ยาคุมกำเนิด สเตียรอยด์โรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่ กลุ่มอาการคุชชิ่ง ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำการรับประทานอาหาร เช่น ทานจุบจิบ ทานอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ เช่น โรคกินไม่หยุด (Binge eating disorder) การออกกำลังกายน้อย เช่น ไม่มีเวลาออกกำลังกาย พฤติกรรมทำงานใช้กำลังกายน้อย ขาดการออกกำลังระดับหนักพอควร และมีข้อจำกัดด้านร่างกายในการออกกำลัง การอดนอน

แนวทางการรักษาโรคอ้วนมีอะไรบ้าง ?

            เราสามารถแบ่งแนวทางการรักษาโรคอ้วนออกเป็น 2 แนวทางหลักๆ ด้วยกัน คือ
 

  1. แนวทางการรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่

1.1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

  • การควบคุมอาหาร: โดยรับประทานอาหารในสัดส่วนสมดุล (คาร์โบไฮเดรต 45-65%, ไขมัน 20-35% และโปรตีน 10-35%)1 ร่วมกับกลยุทธ์ต่างๆ เช่น ลดขนาดภาชนะของอาหารที่จะรับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง ใช้อาหารทดแทนมื้ออาหาร
  • การใช้พลังงาน และการออกกำลังกาย: แนะนำให้ใช้พลังงาน หรือออกกำลังกายในระดับหนักปานกลาง (Moderate intensity) เช่น ล้างรถ เช็ดกระจก ถูพื้น เดินเร็ว ว่ายน้ำ แบดมินตัน อย่างน้อย 150-200 นาทีต่อสัปดาห์3

1.2 การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric surgery)

  • เหมาะกับผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีดัชนีมวลกาย ≥30 กก./ม.2 4ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ จากโรคอ้วน รวมถึงโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ป่วยโรคอ้วนที่เป็นเบาหวาน เพื่อช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานให้ดีขึ้น หรืออาจทำให้หายขาดไปได้ ซึ่งชนิดของการผ่าตัด มีทั้งการผ่าตัดลดขนาดของกระเพาะอาหาร (Mini gastric bypass), การตัดต่อลำไส้ให้ส่วนที่ดูดซึมอาหารสั้นลง (Roux-en-Y gastric bypass: RYGB) เป็นต้น

1.3 การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร (Endoscopic sleeve gastroplastyESG)

  • เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่มีการผ่าตัด หรือแม้กระทั่งการเจาะรูผ่านทางหน้าท้อง แต่เป็นการใส่กล้องเข้าไปในตัวผู้ป่วยทางปาก แล้วเย็บกระเพาะให้เล็กลง (Endoscopic suturing) เหมือนการผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลงด้วยวิธี Sleeve gastrectromy แต่ไม่มีการผ่าตัดใดๆ
  1. แนวทางการรักษาโดยใช้ยา2

พิจารณาในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีดัชนีมวลกาย ≥27 กก./ม.2 เมื่อใช้การควบคุมอาหารและออกกำลังกายไม่ได้ผล ซึ่งในประเทศไทยมียาที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้ใช้ในการรักษาโรคอ้วน 3 รายการ คือ Orlistat, Phentermine และ Liraglutide

 

ยากลไกการออกฤทธิ์ผลข้างเคียงที่อาจพบได้
Orlistatยับยั้งเอนไซม์ไลเปสที่ใช้ย่อยสลายไขมัน ร่างกายจึงดูดซึมไขมันได้น้อยลง ไขมันถูกขับออกมากขึ้นถ่ายเหลวมัน ท้องอืด ปวดมวนท้อง
Phentermineเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทในสมอง (Norepinephrine และ Dopamine) ทำให้ลดความอยากอาหารปากแห้ง นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
Liraglutideมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน Glucagon-like peptide-1 (GLP-1) โดยจะไปจับกับตัวรับ GLP-1 ทำให้ลดความอยากอาหาร และทำให้รู้สึกอิ่มคลื่นไส้ อาเจียน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย

ข้อควรระวังในการรักษาโรคอ้วนด้วยยา

หากต้องการใช้ยาเพื่อควบคุมน้ำหนัก ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

อ้วนแล้วไง… โรคภัยถามหา เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!