โรคอ้วนกับภาวะโรคกระดูกสันหลัง

โรคอ้วนกับภาวะโรคกระดูกสันหลัง

เมื่อพูดถึงภาวะโรคอ้วนหรือภาวะที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเนื่องด้วยเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อเกิดภาวะนี้แล้วโอกาสที่จะเกิดโรคอื่นๆตามมาไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง  โรคหัวใจ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่เราทุกคนทราบดีและไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าจริงๆแล้วโรคกระดูกสันหลังก็มีโอกาสเกิดได้ไม่น้อยไปกว่าโรคต่างๆดังที่ได้กล่าวเลย เรามาดูกันว่าโรคอ้วนนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะโรคกระดูกสันหลังได้อย่างไร
 

โรคอ้วนคืออะไร

มาทำความรู้จักโรคอ้วนกันก่อนว่า เรามีเกณฑ์หรือข้อพิจารณาอะไรว่าเรามีภาวะโรคนี้แล้ว ซึ่งหลายคนคงทราบดีว่าอาจมีเกณฑ์มาตรฐานในการวัดภาวะนี้อยู่หลายเกณฑ์แต่ที่เราใช้กันมาตรฐานนั้นเราจะใช้พิจารณาได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) โดยคำนวณจากน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง คนที่มีดัชนีมวลกายเกิน 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน ดังสูตรการคำนวณดังนี้  BMI =น้ำหนัก (กิโลกรัม) / [ส่วนสูง (เมตร)]2  
 

โรคอ้วนเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกสันหลังอย่างไร

เนื่องจากร่างกายต้องรับน้ำหนักมากทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น ซึ่งปกติแล้วกระดูกสันหลังเป็นแกนกลางหลักของร่างกายที่ต้องคอยแบกรับน้ำหนักตัวในทุกๆ อิริยาบถการเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน ล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้กระดูกสันหลังทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไหร่ กระดูกสันหลังก็ยิ่งต้องรับน้ำหนักมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะคนที่มีภาวะอ้วนลงพุง เพราะน้ำหนักที่มากขึ้นบวกกับพุงที่ยื่นมาด้านหน้า จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องออกแรงมากขึ้น เอวแอ่นมากขึ้น หากกล้ามเนื้อ มีอาการอ่อนล้าเรื้อรัง จะทำให้ความสามารถในการช่วยกระจายน้ำหนักจากหมอนรองกระดูกสันหลังลดลง ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือเกิดภาวะหมอนรองกระดุกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงไปที่บริเวณขาได้ และในบางครั้งอาจมีอาการอ่อนแรงของขาร่วมด้วยในทางกลับกันเราพบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะโรคกระดูกสันหลังที่มีภาวะโรคอ้วนร่วมด้วยบางรายหลังจากที่ได้มีการลดน้ำหนักตัวลงพบว่าอาการทางด้านกระดูกสันหลังกลับทุเลาร่วมด้วยเช่นเดียวกันดังนั้นจึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าภาวะโรคอ้วนนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะโรคกระดูกสันหลังได้โดยตรง
 

การดูแลร่างกายเพื่อไม่ให้เกิดโรคอ้วน

หลายคนอาจพอทราบว่าปัจจัยหลักในการเกิดภาวะโรคอ้วนไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป การขาดการออกกำลังกาย ความเสี่ยงทางพันธุกรรมและถึงแม้ว่าปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วนทางด้านกรรมพันธุ์นั้นเราไม่สามารถควบคุมได้แต่ปัจจัยด้านอื่นโดยส่วนใหญ่เราก็สามารถควบคุมได้เช่นเดียวกัน เช่นโดยการควบคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการออกกำลังกายเป็นหลักสำคัญ ยกตัวอย่างเช่นคนที่มีภาวะโรคอ้วนควรลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใย ผักใบเขียวและผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงหรือน้ำอัดลม ร่วมกับการเน้นออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณหลังให้แข็งแรงเช่นการว่ายน้ำ เป็นต้น

ในโอกาสนี้ผมขอจะกล่าวถึงการออกกำลังกายในผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและต้องการลดน้ำหนักลงแต่พอสังเขปครับ โดยสำหรับคนอ้วนหรือคนที่น้ำหนักเกิน จะมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติคล้ายกับคนปกติทั่วไป แต่จะมีโอกาสเสี่ยงในเรื่องของการบาดเจ็บทางระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อมากกว่า เนื่องจากน้ำหนักมากจึงทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อที่ควรระมัดระวังมาก หรือในคนอ้วนบางคนอาจมีโรคต่างๆอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และบางคนอาจจะมีการระบายความร้อนได้ไม่ดี เนื่องจากมีไขมันอยู่มาก  ทำให้มีปัญหาในเรื่องของระดับความร้อนที่เพิ่มขึ้น  ในการออกกำลังกายควรเลือกในประเภทที่ไม่มีแรงกระแทกที่รุนแรงนัก เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน การเต้นลีลาศ การว่ายน้ำ หรือการเต้นแอโรบิค และเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้อาจจะช่วยลดแรงกระแทกได้ เช่น รองเท้าพื้นนุ่ม เป็นต้น สำหรับการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อนั้นอาจมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างเพราะคนที่จะออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ  จะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อที่ต้นแขน ก็จะออกกำลังกายเน้นในช่วงต้นแขนตามที่ต้องการ โดยจะมีวิธีการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน ส่วนคนที่จะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก จะเน้นว่าทำอย่างไรให้น้ำหนักลดลง ซึ่งจะต้องใช้ปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมอาหาร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การควบคุมความเครียด และโดยเฉพาะการออกกำลังกายที่จะช่วยเผาผลาญพลังงานที่ต้องการให้ได้ 300-400  กิโลแคลอรี/วัน  หรือ 1000-2000  กิโลแคลอรี/สัปดาห์  ซึ่งจะต้องออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์ หรือทุกวัน และใช้เวลา 40-60 นาที/วัน หรืออาจจะแบ่งออกเป็นสองช่วง คือ ช่วงเช้า 20-30  นาที และช่วงเย็นอีก 20-30 นาที โดยจะเพิ่มเวลาขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อเผาผลาญพลังงาน    อีกประเด็นที่สำคัญที่สุดของการออกกำลังกาย คือ การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ฉะนั้นในการเลือกประเภทหรือรูปแบบของการออกกำลังกายจะต้องเลือกตามที่ตนชอบ รู้สึกสนุกกับการเล่นกีฬานั้น และไม่เป็นการฝืนจิตใจ และขึ้นอยู่กับประสบการณ์ โอกาส อุปกรณ์ และสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการออกกำลังกายหรือไม่ ในการออกกำลังกายนั้นควรเริ่มจากช้า ๆ เบา ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาและความหนักมากขึ้น เพื่อลดปัญหาความบาดเจ็บของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาได้หลายรูปแบบ รวมทั้งการทำงานบ้าน หรือการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เดิน  เป็นต้น

ดังนั้นหากพอทราบกันแล้วว่าโรคอ้วนส่งผลต่อภาวะกระดูกสันหลังอย่างไรรวมถึงแนวทางหรือวิธีการในการลดน้ำหนักแล้วนั้นเราทั้งหลายควรหันมาดูแลไม่ให้เกิดภาวะโรคอ้วนดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดภาวะโรคกระดูกสันหลังตามมา

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

โรคอ้วนกับภาวะโรคกระดูกสันหลัง เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!