สูงอายุต้องระวัง! Stroke ภาวะฉุกเฉิน เกิดได้ ใกล้ตัว

สูงอายุต้องระวัง! Stroke ภาวะฉุกเฉิน เกิดได้ ใกล้ตัว

ทำความรู้จักโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke รู้ทัน 3 สัญญาณเสี่ยงที่หากเกิดขึ้นต้องรีบพบแพทย์ทันที พร้อมคำแนะนำเพื่อหลีกให้ไกลจากโรค

เรื่องควรรู้

  • Stroke หรือโรคหลอดสมอง มี 2 ประเภทหลัก ได้แก่ หลอดเลือดสมองตีบ กับ หลอดเลือดสมองแตก
  • อาการสำคัญของโรคนี้มีหลักจำง่ายๆ คือ “FAST” – Face, Arm, Speech, Time มักเกิดอย่างฉับพลัน
  • คนอายุ 55 ปีขึ้นไป น้ำหนักเกิน มีความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะเป็น Stroke มากกว่าคนทั่วไป
  • Stroke ป้องกันได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย ฯลฯ

Stroke หรือที่มักได้ยินกันบ่อยๆ ว่า เส้นเลือดในสมองตีบ หรือเส้นเลือดในสมองแตก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มักมีอาการเกิดอย่างฉับพลัน หากได้รับการรักษาไม่ทันจะนำไปสู่อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต อย่างถาวร ไปจนถึงเสียชีวิตได้

จากรายงานข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2560 มีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมีจำนวนถึงปีละประมาณ 30,000 ราย ถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ในประเทศไทย

ดูเป็นภาวะที่น่ากลัวไม่น้อย แต่ความจริงแล้ว Stroke สามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีปรับพฤติกรรมและหมั่นสังเกตภาวะสุขภาพของตนเอง อีกทั้งหากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัวที่สัมพันธ์กับการเกิด Stroke มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็น Stroke ก็สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองร่วมด้วย เพื่อจะได้ห่างไกลจากโรคนี้ให้มากที่สุด

Stroke คืออะไร?

Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่เลือดในสมองเกิดการอุดตันหรือเกิดเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้มีปริมาณลดน้อยลง ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพียงพอ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที จะทำให้เซลล์สมองตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที

Stroke เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดต่อเซลล์สมองให้น้อยที่สุด

“FAST” สัญญาณสำคัญของ Stroke

มีการใช้อักษรย่อ FAST เพื่อสรุป 3 สัญญาณหลักที่บ่งบอกถึงโรคหลอดเลือดสมอง และ 1 ข้อที่ต้องรีบปฏิบัติทันที ดังนี้

F – Face

มีอาการอ่อนแรงบริเวณใบหน้า โดยมักเป็นที่ใบหน้าข้างในข้างหนึ่ง สังเกตได้จากปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท หากยิ้มจะเห็นว่ามุมปากข้างหนึ่งตก

A – Arm

มีอาการแขนหรือขาชา มักเกิดข้างเดียว เมื่อพยายามยกแขนสองข้างขึ้นเหนือศีรษะพร้อมกัน จะพบว่ายกแขนข้างหนึ่งไม่ขึ้น

S – Speech

มีปัญหาในการพูด เช่น ออกเสียงไม่ชัด พูดไม่ออก เมื่อมีผู้ขอให้ทวนประโยคง่ายๆ ให้ฟัง จะไม่สามารถพูดตามได้

T – Time

หากพบว่ามีอาการข้างต้น แม้ว่าจะเพียงข้อใดข้อหนึ่ง “เวลา” จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ให้คุณรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที หากไม่สามารถไปได้ให้ติดต่อศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉิน โทร. 1669

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากสัญญาณหลัก 3 ข้อข้างต้น ยังมีอาการอื่นๆ บ่งชี้ว่าคุณอาจมีภาวะหลอดเลือดสมองด้วย ได้แก่

  • มีปัญหาในการทำความเข้าใจ มีความสับสนหรือทำความเข้าใจภาษาพูดได้ลำบาก
  • มองไม่เห็นหรือเห็นภาพซ้อน อาจเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างพร้อมกัน
  • ปวดศีรษะ มักเป็นลักษณะปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน และอาจมาพร้อมอาการอาเจียน เวียนศีรษะ บ้านหมุน หมดสติ
  • มีปัญหาในการเดิน อาจมีอาการเดินสะดุด เดินเซ หรือทรงตัวไม่ได้ อาจเกิดร่วมกับอาการเวียนศีรษะกะทันหัน หรือการทำงานของร่างกายไม่ประสานกัน
  • ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว

อาการที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองมักเกิดอย่างฉับพลัน หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการใดอาการหนึ่งเหล่านี้ ต้องรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที ซึ่งจากสถิติพบว่า คนไข้ที่เป็นหลอดเลือดสมองชนิดตีบซึ่งได้รับยาสลายลิ่มเลือดภายใน 90 นาทีแรกหลังจากเกิดอาการ จะมีโอกาสเป็นปกติถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา และหากได้รับยาภายใน 3 ชั่วโมงถึง 4 ชั่วโมงครึ่ง โอกาสหายจะลดลงเหลือ 1.2-1.3 เท่า

ดังนั้นข้อสำคัญคือหากเกิดอาการขึ้นแล้วต้องรีบไปพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด ไม่ต้องรอดูว่าจะดีขึ้นหรือไม่ เพราะยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไร ความเสียหายที่มีต่อสมองจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้พิการหรือเสียชีวิตได้

ประเภทของ Stroke

โรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ หลอดเลือดสมองชนิดแตก และ หลอดเลือดสมองชนิดตีบ แต่ละชนิดต่างกันดังนี้

1. หลอดเลือดสมองชนิดแตก (Hemorrhagic stroke)

สาเหตุมักมาจากภาวะความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดโป่งพอง ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดแดงในสมองเกิดการรั่วหรือแตก ซึ่งทำให้เกิดแรงดันที่เซลล์สมองมากกว่าปกติ นำไปสู่ความเสียหายที่เซลล์สมองบริเวณนั้น

2. หลอดเลือดสมองชนิดตีบ (Ischemic stroke)

คนไข้หลอดเลือดสมองประมาณ 80% เป็นหลอดเลือดสมองชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงที่จะนำเลือดจากหัวใจมาสู่สมอง

นอกจากนี้ยังมีอีกภาวะหนึ่งที่แสดงอาการเหมือนเป็นหลอดเลือดสมองชนิดตีบ แต่ภายใน 24 ชั่วโมงจะหายเป็นปกติ คือ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack: TIA) หรือบางครั้งเรียกกันว่า “Mini Stroke” สาเหตุเกิดจากเส้นเลือดในสมองถูกอุดตันเพียงชั่วเวลาสั้นๆ โดยมากแล้วไม่เกิน 5 นาที

หากเกิดภาวะ Mini Stroke แม้ต่อมาจะหายเหมือนเป็นปกติแล้ว ก็ยังต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์อย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา เนื่องจากพบว่าผู้ที่เป็นแล้วปล่อยไว้ไม่ได้ทำอะไรเลย ต่อมาจะเกิด Stroke ซ้ำได้

สิ่งที่ทุกคนควรตระหนักคือ ไม่มีวิธีใดที่จะสังเกตได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจาก Stroke หรือ Mini Stroke ดังนั้นถ้าพบสัญญาณ FAST เมื่อใด ต้องรีบไปหรือให้คนใกล้ชิดนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

ปัจจัยเสี่ยงต่อ Stroke

ผู้ที่มีพฤติกรรมหรือภาวะทางสุขภาพต่อไปนี้เป็นเวลานาน มักมีความเสียงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

  • อ้วน น้ำหนักเกิน
  • ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
  • ความดันโลหิตสูง
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคลมหลับหรือมีภาวะนอนกรน
  • มีภาวะเครียด
  • มีโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจพิการแต่กำเนิด
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น

  • อายุ ผู้ที่ 55 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า เนื่องจากเมื่ออายุมากหลอดเลือดก็จะเสื่อม ผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นเพราะมีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจึงแคบลงเรื่อยๆ
  • เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้หญิง ส่วนในผู้หญิงนั้นมักจะพบภาวะหลอดเลือดสมองในกลุ่มที่อายุมากกว่าผู้ชาย แต่มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตด้วยโรคนี้มากกว่า
  • ฮอร์โมน ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดซึ่งมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น

จะป้องกันภาวะ Stroke ได้อย่างไร?

จากเรื่องปัจจัยเสียงต่อ Stroke จะเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีหลายอย่าง ตั้งแต่อายุ เพศ รวมไปถึงพฤติกรรมและภาวะสุขภาพส่วนบุคคล กลุ่มผู้สูงอายุผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไปจัดว่าเป็นหนึ่งกลุ่มเสี่ยงสำคัญ แต่เนื่องจากภาวะ Stroke เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ดังนั้นการดูแลเมื่อมีอาการแล้วจึงทำได้ยาก สิ่งที่จะช่วยได้มากกว่าคือการป้องกัน ด้วยวิธีละเลิกพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง คอยติดตามและควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ดีเสมอ

โดยปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายวันละประมาณ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
  • งดดื่มสุราและสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ อาหารที่มีเส้นใยมาก
  • หลีกเลี่ยงอาหารคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง อาหารทะเล ไข่ปลาหมึก ไข่ปู ไข่กุ้ง หนังไก่ หนังเป็ด หนังปลาทอด แคบหมู เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
  • ลดอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันอิ่มตัว อาหารรสเค็ม รวมถึงเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เช่น กาแฟ
  • เข้ารับการตรวจ Sleep Test หากพบภาวะผิดปกติจะได้ทำการรักษา
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และจิตใจ หากมีปัญหาความเครียดอาจพิจารณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น นักจิตวิทยา จิตแพทย์

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่เลือกอาศัยอยู่คนเดียว คงจะดีกว่าถ้าเราสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างดี เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก คล่องแคล่ว การดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับตรวจคัดกรองตั้งแต่ก่อนมีอาการ เป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้คุณห่างไกลจาก Stroke มีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่คุณสนใจไปอีกนาน

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

สูงอายุต้องระวัง! Stroke ภาวะฉุกเฉิน เกิดได้ ใกล้ตัว เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!