กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทพบประมาณ 6% ในประชากรทั่วไป โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักเกิดในวัยกลางคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมักเจ็บปวดในท่ายืน เดิน หรือหมุนลำตัว ปวดร้าวบริเวณแผ่นหลัง สะโพก ร้าวไปที่ต้นขาจนถึงขา โดยอาการปวดหลังร้าวลงขา ปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการจะดีขึ้นเมื่อนั่งพัก

การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยการผ่าตัด จะใช้เมื่อผู้ป่วยมีกระดูกสันหลังเคลื่อนมากหรือมีแนวโน้มจะเคลื่อนมากขึ้น ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก โดยไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีอื่น

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือ Lumbar spondylolisthesis มาจากภาษากรีก spondylo แปลว่า กระดูกสันหลัง และคำว่า olisthesis แปลว่า เคลื่อน ซึ่งเป็นภาวะที่กระดูกสันหลังระดับบนเคลื่อนตัวไปข้างหน้าทับเส้นประสาท ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดินระยะทางไกลไม่ได้เท่าเดิม มีการเซ หรือล้มได้ง่าย ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทพบประมาณ 6% ในประชากรทั่วไป โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักเกิดในวัยกลางคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามยังพบอุบัติการณ์ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี 2.6% โดยมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและครอบครัว 26%

สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

สาเหตุของอาการปวดหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท มักเกิดจากความไม่มั่นคง (Instability) ของแนวกระดูกสันหลัง โดยเริ่มจากหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม ทำให้กระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกัน ส่งผลให้โพรงเส้นประสาทตีบแคบ จนไปกดทับเส้นประสาท

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

  • อายุ เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเกิดเพิ่มขึ้น
  • เพศ เพศหญิงมีโอกาสที่จะมีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนได้มากกว่าเพศชาย
  • กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่ได้รับการแรงกดทับต่อกระดูกสันหลัง เช่น นักกีฬาจักรยานเสือหมอบ หรือการขับรถติดต่อกันเป็นระยะทางไกลและยาวนาน

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมีกี่ประเภท

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ

  • ประเภทที่ 1 Dysplastic เป็นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน ที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด สาเหตุจากพันธุกรรม พบประมาณ 20% ของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท และพบมากในเพศหญิง  
  • ประเภทที่ 2 Isthmic เป็นภาวะบกพร่องของกระดูกสันหลังส่วน pars interarticularis ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างตัวปล้องกระดูกสันหลัง กับส่วนหางของกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการเคลื่อนไปด้านหน้า พบมากถึง 50% ของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท  
  • ประเภทที่ 3 Degenerative พบประมาณ 25% เป็นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนจากความเสื่อม เนื่องจากความไม่มั่นคงของกระดูกส่วนต่างๆ และความเปลี่ยนแปลงของข้อต่อ มักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป
  • ประเภทที่ 4 Traumatic เป็นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนจากการบาดเจ็บ เกิดการแตกหักบริเวณขอเกี่ยวกระดูกที่ไม่ใช่พาร์ ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างข้อต่อและกระดูกสันหลัง (pedicle, laminas หรือ facets)  
  • ประเภทที่ 5 Pathological เป็นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนจากโรคบางชนิด เช่น การลุกลามของมะเร็งหรือเนื้องอก โรคกระดูกพรุน 
  • ประเภทที่ 6 Post-surgical เป็นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนภายหลังจากการผ่าตัด ซึ่งเกิดการบีบอัดด้านหลังมากเกินไป

อาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

ในเด็ก 

มักไม่มีอาการ เป็นการค้นพบโดยไม่ได้ตั้งใจในการเอกซเรย์ หรือมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่าง อาการที่พบ ดังนี้

  • ความตึงของเอ็นร้อยหวาย (พบบ่อยที่สุด) และการหดตัวของข้อเข่า
  • อาการปวดที่เกิดจากการกดทับหรือระคายเคืองของรากประสาท (L5 root lesion) 
  • อาการปวดหลังอย่างรุนแรง และหายปวดเมื่อได้พักผ่อน

ในผู้ใหญ่อาการแสดงที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • มักหายปวดด้วยการพักผ่อนและการนั่ง
  • อาการคลื่นไส้อาเจียนและปวดขา

อาการที่พบบ่อยเป็นอันดับสอง

  • อาการปวดสะโพกและขาเมื่อยืนหรือเดิน
  • หายปวดด้วยการนั่ง อาการคล้ายภาวะหลอดเลือดอุดตันที่ขา ซึ่งอาจเกิดร่วมกันได้  

การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

  • ตรวจร่างกาย ซักประวัติ สอบถามลักษณะการปวด ซึ่งมีความแตกต่างจากภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมักเจ็บปวดในท่ายืน เดิน หรือหมุนลำตัว ปวดบริเวณแผ่นหลัง สะโพก ร้าวไปที่ต้นขาจนถึงขา เป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการจะดีขึ้นเมื่อนั่งพัก
  • ตรวจดูลักษณะภายนอกของกระดูกสันหลัง
  • เอกซเรย์ทั้งในท่านิ่ง (static view) และแบบเคลื่อนไหว (dynamic view)
  • MRI ช่วยในการวิเคราะห์ลงรายละเอียด ว่ากระดูกส่วนใดเคลื่อนลงมากดทับเส้นประสาท
  • CT scan ตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกร่วมด้วย
  • ตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท (nerve study) โดยปล่อยกระแสไฟฟ้าในขนาดที่ปลอดภัย กระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาท ที่สงสัยว่ามีความผิดปกติ

ระดับความรุนแรงของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

แพทย์สามารถระบุความรุนแรงของภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนได้จากผลการเอกซเรย์ โดยใช้เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของ Meryerding classification ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • ระดับที่ 1 มีการเคลื่อนของกระดูกน้อยกว่า 25%
  • ระดับที่ 2 มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง 25-50%
  • ระดับที่ 3 มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง 50-75%
  • ระดับที่ 4 มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง 75-100%
  • ระดับที่ 5 มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังทั้งหมด หรือภาวะกระดูกพรุน

การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

รักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทส่วนใหญ่เริ่มด้วยการไม่ผ่าตัดก่อน โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้

  • พักกิจกรรมหรือกีฬาที่ต้องใช้หลัง
  • รับประทานยาแก้ปวด ตามแพทย์สั่ง
  • ทำกายภาพบำบัด เน้นความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง สะโพก และต้นขาด้านหลัง
  • การฉีดสเตียรอยด์ เข้าไปยังบริเวณเส้นประสาทไขสันหลังที่ถูกกดทับ เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นประสาท
  • ใส่อุปกรณ์พยุงหลัง (Lumbar Support) เพื่อลดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนเอว ประมาณ 2-16 สัปดาห์

รักษาโดยการผ่าตัด กรณีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีต่างๆ แล้ว ร่างกายยังไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัด โดยการรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยการผ่าตัด มีข้อบ่งชี้ ดังนี้

  • ผู้ป่วยมีกระดูกสันหลังเคลื่อนมากหรือมีแนวโน้มจะเคลื่อนมากขึ้น
  • มีอาการปวดหลังมาก โดยไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีอื่น
  • มีอาการเส้นประสาทโดนกดทับอย่างรุนแรง
  • กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท 

การผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท สามารถทำได้ ดังนี้

การผ่าตัดแบบเปิดกว้าง (Open Laminectomy) โดยผ่าตัดเปิดแผลกลางหลัง ทำการเลาะกล้ามเนื้อบริเวณรอบกระดูกสันหลัง เพื่อตัดกระดูกสันหลังส่วน Lamina และเปิดโพรงเส้นประสาทให้โล่ง ซึ่งสามารถขยายโพรงเส้นประสาทได้กว้าง แต่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบ เสียเลือดมาก รวมถึงมีโอกาสทำให้โครงสร้างกระดูกสันหลังเสียความมั่นคง

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (minimally invasive spine surgery) เป็นการผ่าตัดแผลเล็กด้วยเทคนิคและอุปกรณ์เสริมพิเศษที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อที่แผ่นหลังน้อยที่สุด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วกว่าวิธีการผ่าตัดแบบเดิมและกลับบ้านได้เร็วขึ้น โดยการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องแบบแผลเล็ก (MIS) ทำได้ด้วยเทคนิค ดังนี้

  • การผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Decompression) การผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อขยายโพรงเส้นประสาท ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย บาดแผลเล็ก และฟื้นตัวไว
  • การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscopic Decompression) แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจนและแม่นยำกว่าการผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งกล้องเอนโดสโคป มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กขนาด 7.9-10.5 มิลลิเมตร ใช้แสงและมีระบบน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา ปลายกล้องมีเลนส์กำลังขยายสูง ทำให้มองเห็นภายในกระดูกสันหลังอย่างชัดเจน เพื่อเอากระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก เป็นการผ่าตัดที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบๆ น้อยกว่าวิธีอื่น ดังนั้นอาการเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัดจะน้อยมาก ปริมาณการใช้ยาแก้ปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า แผลผ่าตัดหายเร็วกว่า ฟื้นตัวเร็ว และสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้เร็วขึ้น
  • การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านทางด้านหลัง (Posterior Lumbar Decompression Alone) เพื่อทำการลดการกดทับเส้นประสาทที่เกิดจากการแคบของช่องกระดูกสันหลัง (spinal stenosis) หรือจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน (herniated disc) เพื่อบรรเทาอาการปวด ชา และอ่อนแรงที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทในกระดูกสันหลัง และช่วยให้เส้นประสาททำงานได้ดีขึ้น หลังจากการลดแรงกดทับ ข้อดีของการผ่าตัดวิธีนี้คือ สามารถลดอาการปวดหลังและ ปวดหลังร้าวลงขา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการเชื่อมกระดูก ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วกว่า เป็นวิธีที่นิยมในการรักษาอาการที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทในกระดูกสันหลังส่วนเอว

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

ผู้ป่วยควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด ดังนี้

  • ตรวจความสมบูรณ์ของร่างกายตามที่แพทย์กำหนด เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและรับประทานยาประจำ โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อ
  • การแข็งตัวของเลือด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด จำเป็นต้องงดยาก่อนผ่าตัด 5-7 วัน
  • ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับยา วิตามิน และสมุนไพรที่รับประทานเป็นประจำ
  • นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • งดสูบบุหรี่

ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัด

หลังจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทควรปฏิบัติตัว ดังนี้ 

  • แผลจะถูกน้ำได้เมื่อแผลหายสนิทดี อาจใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน การหายของแผลขึ้นกับขนาด ความลึก ตําแหน่ง ตลอดจนการไหลเวียนเลือดบริเวณแผล นอกจากนี้ความแข็งแรงของผู้ป่วย อายุ และภาวะทางโภชนาการโรคประจำตัวบางอย่างจะมีผลให้แผลหายช้า เช่น โรคเบาหวาน
  • งดการยกของหนัก หรือกิจกรรมต่างๆ ภายใน 1 เดือนหลังการผ่าตัด เช่น ก้ม งอ แอ่นหลัง 
  • สามารถขับรถได้ปกติหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ไม่ควรขับในระยะไกลและเป็นเวลายาวนาน
  • สามารถขยับร่างกายอย่างช้าๆ ด้วยการเดิน 10-15 นาที รวมถึงการนั่ง ไม่ควรนั่งเกิน 20 นาที เพราะอาจกระทบกระเทือนกับกระดูกสันหลังได้
  • พบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

หลังผ่าตัด หากแผลมีอาการปวดไม่ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป บวม แดง ร้อน มีไข้ หรืออาจมีสารคัดหลั่งออกมาจากแผล ปวดหลังมากผิดปกติ ควรรีบกลับมาพบแพทย์

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีคำถามและความวิตกกังวลถึงผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด เช่น เสียวร้าวลงขา กลัวเดินไม่ได้ หรืออาการปวดหลังไม่หาย โดยปกติแล้วความเสี่ยงจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทมีน้อยมาก เนื่องจากเทคนิคการผ่าตัดมีการพัฒนาขึ้นทำให้มีผลข้างเคียงน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย

อย่างไรก็ตามทุกการรักษาอาจมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ดังนี้

  • ภาวะเสียเลือด ติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
  • ผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในระหว่างการรักษา เช่น การแพ้ยาการเกิดลิ่มเลือด อาจเกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ขา ซึ่งสามารถนำไปสู่
  • ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis)
  • อาการชา หรือเสียว อาจมีอาการชาหรือเสียวบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับก่อนการผ่าตัด
  • การอ่อนแรง อาจมีการอ่อนแรงในกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทควบคุม อาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร
  • ความไม่สมดุลหรือความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง อาจทำให้กระดูกสันหลังไม่มั่นคงหรือไม่สมดุลหลังจากการผ่าตัด
  • อาจมีโอกาสที่อาการปวดหรือปัญหากลับมาอีกครั้ง

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัด ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะต้องประเมินผู้ป่วยอย่างละเอียด ตรวจสอบประวัติการแพทย์และตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมถึงการใช้ภาพวินิจฉัย เช่น MRI หรือ CT scan เพื่อประเมินสภาพของกระดูกสันหลังและเส้นประสาท รวมถึงการเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด การใช้เทคนิคการผ่าตัดที่ทันสมัยร่วมกับเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทและเนื้อเยื่อสำคัญอื่นๆ มีการแนะนำเกี่ยวกับการพักฟื้น การออกกำลังกาย และกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ

หากมีอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการดูแลและรักษาที่เหมาะสม

การฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

การทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูร่างกาย ช่วยลดอาการปวด เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวและการทำงานของกระดูกสันหลังดีขึ้น ซึ่งแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วย ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และความสามารถในการเคลื่อนไหว ก่อนการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด ซึ่งประกอบไปด้วย 

  • การออกกำลังกายเบาๆ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดอาการบวม
  • การเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องใช้แรงมาก เช่น การเดินเบา ๆ และการเหยียดขา
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (core muscles)
  • การยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดการยึดเกาะของเนื้อเยื่อ
  • การฝึกการทรงตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงความสมดุลและการประสานงานของร่างกาย
เครื่องออกกำลังกาย ASDwellness อุปกรณ์

Shoulder Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอกและหลัง

Chest Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอก

Pec Deck

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าอก ไหล่และหลัง

Arm Flexion/Extension

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ แขน และต้นแขน

Abdominal/Back

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าท้อง และหลัง

Back Extension

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หลัง และหน้าท้อง

Leg Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ขา และสะโพก

Adduction/Abduction

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านใน และด้านนอก

Leg Extension/Leg Curl

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง

ที่มา :  www.thairath.co.th , น.ต.นพ. ชัยพฤกษ์ ปั้นดี ศัลยศาสตร์โรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลสมิติเวช

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ WWW.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://www.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

#กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท #ฝึกระบบประสาทและความสามารถในการรับรู้เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุพร้อมป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม #หกล้ม #ล้มในผู้สูงวัย #ผู้สูงอายุหกล้ม #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย  #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหาร

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!