ปวดหัวบ่อยแบบนี้ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

ปวดหัวบ่อยแบบนี้ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

เคยเป็นไหม? ปวดหัวตุ๊บๆ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร คิดว่าเดี๋ยวกินยานอนพักตื่นมาก็หายจนกลายเป็นเรื่องปกติไปซะแล้ว แต่ความจริงแล้วอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ใช่เรื่องปกติ งั้นลองมาเช็คกันดูสิว่าอาการปวดหัวแบบไหน บอกอะไรกับเราได้บ้าง

ปวดหัว (Headaches) หรือปวดศีรษะ เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะหรือคอส่วนบน ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกะโหลกศีรษะหรือสมองเกิดการอักเสบหรือระคายเคือง จนทำให้เกิดอาการปวดขึ้น โดยอาการปวดอาจมาจากเส้นประสาทบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ปาก และคอ กล้ามเนื้อของคอหรือไหล่ และหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง

ปวดหัวบอกอะไร?

โดยปกติแล้วอาการปวดหัวแต่ละประเภทมักมีลักษณะการปวดที่แตกต่างกันออกไป เช่น อาการปวดหัวไมเกรนเป็นการปวดตุบๆ ที่ศีรษะข้างใดข้างหนึง อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวจะมีอาการปวดเหมือนโดนบีบรัดค่อนไปทางขมับและหน้าผาก โดยมักปวดทั่วทั้งศีรษะ หรืออาการปวดคลัสเตอร์เป็นอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณเบ้าตาหรือด้านหลังตา ทั้งนี้ ความถี่และความรุนแรงของอาการปวดหัวจะเป็นไปตามสาเหตุของอาการปวดหัวแต่ละประเภท และตำแหน่งที่ปวดอาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของใบหน้า กะโหลก หรือทั้งศีรษะ

ปวดหัวแบบตึงตัว (Tension type headache)

เป็นโรคปวดหัวที่พบได้บ่อยที่สุดมักเกิดกับบุคคลซึ่งมีความเครียด เหนื่อย ทำงานหนัก ลักษณะการปวดมักเป็นแบบแน่นแน่น หรือ รัดรัดทั้งสองข้างของศีรษะและต้นคอ โดยอาการปวดมักมีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ซึ่งอาจมีการปวดของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ คอ ไหล่ ร่วมด้วยได้ อาการปวดชนิดนี้ไม่แย่ลงจากกิจวัตรประจำวัน และมักไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

ปวดหัวไมเกรน (Migraine headache)

เป็นโรคปวดหัวที่พบได้บ่อย และมักได้รับการวินิจฉัยที่ผิดพลาด โดยโรคปวดหัวไมเกรนนี้มักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยทำงาน ลักษณะการปวดมักทำให้เกิดอาการปวดหัวรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ซึ่งอาการปวดดังกล่าวจะแย่ลงได้จากสิ่งกระตุ้นภายนอก ทั้งแสง เสียง หรือกลิ่น ผู้ป่วยบางรายมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไมเกรนส่วนใหญ่มักจะปวดนานตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไป ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดนานถึง 3 วัน

ปวดหัวแบบกลุ่ม (Cluster headache)

เป็นโรคปวดหัวที่พบได้ไม่บ่อยแต่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง อาการปวดหัวชนิดนี้มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยอาการปวดหัวมักมีอาการปวดที่รุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่าย มักเกิดทันที ระยะเวลาที่ปวดประมาณ 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง ตำแหน่งที่ปวดมักปวดรอบดวงตาหรือบริเวณขมับมักเป็นข้างเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการของระบบประสาท parasympathetic ร่วมด้วย เช่น มีตาแดง มีน้ำตาไหล มีน้ำมูก มีเหงื่อออก บริเวณใบหน้าด้านที่มีอาการปวดหัว

ปวดหัวแบบเรื้อรังทุกวัน (Chronic daily headache)

ผู้ป่วยชนิดนี้มักมีอาการปวดหัวเรื้อรังมากกว่า 15 วันต่อเดือน อย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหัวแบบ tension หรือแบบไมเกรนก็ได้ แต่ผู้ป่วยจะมีอาการเรื้อรังมากกว่า ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นโรคปวดหัวจากการใช้ยาเกิน(medication overuse headache) ซึ่งเกิดจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาด การซื้อยากินเอง การใช้ยาแก้ปวดบ่อยบ่อย ซึ่งทำให้มีอาการปวดหัวเรื้อรังมากขึ้นเรื่อยเรื่อย นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวได้อีก เช่น ภาวะไซนัสอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง โรคมะเร็งเป็นต้น ทั้งนี้การวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมถึงการตรวจเพิ่มเติมเช่น การทำ MRI เป็นต้น เพื่อช่วยวินิฉัยแยกโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายออกไป

ไม่ว่าจะปวดหัวแบบไหนก็ตาม หากพบความผิดปกติ หรือปวดติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับคำแนะนำและตรวจรักษา เพราะอาการปวดหัวที่คุณเป็นอาจเป็นสัญญาณของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ ที่สำคัญควรไปเช็กตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการดูแลตัวเองได้ดียิ่งขึ้น หากพบความผิดปกติก็จะทำให้แพทย์สามารถให้คำแนะนำถึงแนวทางการรักษาได้อย่างทันท่วงทีตั้งแต่ระยะแรก ทั้งช่วยป้องกัน และลดปัญหาความรุนแรงจากโรคในอนาคตได้

เครื่องออกกำลังกาย ASDwellness อุปกรณ์

Shoulder Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอกและหลัง

Chest Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอก

Pec Deck

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าอก ไหล่และหลัง

Arm Flexion/Extension

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ แขน และต้นแขน

Abdominal/Back

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าท้อง และหลัง

Back Extension

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หลัง และหน้าท้อง

Leg Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ขา และสะโพก

Adduction/Abduction

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านใน และด้านนอก

Leg Extension/Leg Curl

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง

ที่มา :  www.thairath.co.th ,

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ WWW.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://www.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

#ปวดหัวบ่อยแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง #ฝึกระบบประสาทและความสามารถในการรับรู้เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุพร้อมป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม #หกล้ม #ล้มในผู้สูงวัย #ผู้สูงอายุหกล้ม #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย  #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหาร

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!