เช็ค 5 อาการเตือนข้อเข่าเสื่อม

เช็ค 5 อาการเตือนข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม คือ การเสื่อมสภาพและสึกหรอของกระดูกอ่อนที่ข้อเข่า มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวเข่าที่ช่วยในการพยุงหัวเข่าอ่อนแอลง ภาระการรับน้ำหนักจึงตกไปอยู่ที่ข้อเข่ามากขึ้น และยิ่งถ้ามีน้ำหนักตัวมาก ก็จะยิ่งทำให้กระดูกข้อต่อและกระดูกอ่อนของหัวเข่าเสื่อมสภาพลงเร็วขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดข้อเข่า ปวดขาเวลาเดินหรือยืนนานๆ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินไปจนถึงจุดที่เดินไม่ไหวและมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ลองสังเกตหัวเข่าของตัวเองหรือคนใกล้ตัวว่า มีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ หากมีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนลุกลาม

5 ข้อสังเกต สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. ได้ยินเสียงกรอบแกรบในเข่า

ตามปกติแล้ว ระหว่างผิวกระดูกต้นขากับผิวกระดูกหน้าแข้งจะมีหมอนรองกระดูกที่คอยทำหน้าที่รับน้ำหนัก กระจายแรง ป้องกันไม่ให้ผิวกระดูกชนกันรองอยู่ ข้อต่อจึงเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น แต่ในผู้ที่มีอายุมากหรือเคยประสบอุบัติเหตุที่ข้อเข่าโดยตรง หมอนรองกระดูกเหล่านี้จะเสื่อมหรือค่อยๆ สึกกร่อนลง เมื่อหมอนรองกระดูกบางหรือสึกกร่อนจนหมดก็ทำให้ผิวกระดูกเสียดสีกันจนเกิดเสียงดังกรอบแกรบขึ้น

2. ข้อเข่าฝืดแข็ง

ข้อเข่าฝืดแข็งมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือเมื่อนั่งในท่าเดิมนานๆ พอจะเปลี่ยนอิริยาบถ เหยียดขา งอเข่า หรือลุกขึ้นเดิน ก็ต้องใช้เวลายืดเหยียดเข่าอยู่พักใหญ่ๆ อาการแบบนี้เกิดจากการที่น้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าลดน้อยลง ทำให้การเคลื่อนไหวของหัวเข่าไม่ราบรื่นอย่างที่เคย หรืออาจเกิดขึ้นจากการที่หมอนรองกระดูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร

3. ปวดเสียวภายในข้อเข่า

ความรู้สึกปวดเสียวในข้อเข่าเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลัก คือ

  • เกิดจากกล้ามเนื้อรอบๆ เข่ามีความตึงตัวสูง เพราะเมื่อเข่าทรุดตัวทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งค้างไว้ และเมื่อเกร็งค้างนานๆ จึงทำให้มีอาการปวด
  • เกิดจากผิวกระดูกเสียดสีกัน เนื่องจากภายในกระดูกจะมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ เมื่อผิวกระดูกเสียดสีกันจึงทำให้เกิดอาการปวด และการที่ผิวกระดูกเสียดสีกันจนเสียหาย กลไกของร่างกายอาจกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกงอกขึ้นมาใหม่ จนทิ่มแทงเนื้อเยื่อรอบๆ เข่า ทำให้เกิดอาการปวดเข่าในที่สุด และจะยิ่งปวดมากเวลาเดิน หรือเวลาที่มีการลงน้ำหนักที่หัวเข่า

4. ข้อเข่าติด
โดยปกติหัวเข่าของเราจะสามารถงอได้เต็มช่วง คือ พับเข่าได้สุด เหยียดเข่าได้สุด แต่หากเริ่มมีภาวะข้อเข่าเสื่อม เราจะไม่สามารถงอเข่าได้สุด อาจจะงอได้เพียงครึ่งเดียว และเมื่อพยายามกดเข่าให้งอเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้รู้สึกปวดเข่าจี๊ดขึ้นมาทันที ในบางรายอาจรู้สึกขัดๆ ในกระดูก ทำให้ไม่สามารถงอเข่าได้เต็มช่วง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าติดนั้น เกิดจากการที่กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบเข่าอ่อนแรง ทำให้กระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งทรุดตัวมาอยู่ชิดกันมากเกินไป เมื่องอเข่าจึงทำให้กระดูกขัดกัน

5. กล้ามเนื้อรอบหัวเข่าอ่อนแรง เมื่อยง่าย

โดยอาการจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะแรก จะเริ่มปวดเข่าตอนเคลื่อนไหว เช่น ขณะเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ย่อขา แต่อาการจะหายไปหรือดีขึ้นเมื่อทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้ข้อเข่า รวมถึงอาจจะมีอาการเสียวหัวเข่า ข้อฝืด เมื่อหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน และเมื่อขยับข้อก็จะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูก หรือมีเสียงดังในข้อ
  • ระยะรุนแรง จะมีอาการปวดเข่าที่รุนแรงขึ้น บางครั้งอาจปวดมากในเวลากลางคืน, เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาจะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า, หากมีการอักเสบในข้อ ข้อจะบวมร้อนและอาจตรวจพบน้ำในช่องข้อ ถ้าปล่อยให้เรื้อรังเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่งหลวมหรือบิดเบี้ยวผิดรูป จนกระทบต่อการเดินและการใช้ชีวิตประจำวัน


หากใครมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี เพราะข้อเข่าเป็นอวัยวะสำคัญที่รองรับการทรงตัว อย่าชะล่าใจและปล่อยทิ้งไว้จนยากต่อการรักษาและฟื้นฟู

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

เช็ค 5 อาการเตือนข้อเข่าเสื่อม เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!