แนวโน้มการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สุงอายุในอนาคต
ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจากการเสื่อมของเซลล์และเนื้อเยื่อในทุกระบบ ทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมถอยลงตามการสูงอายุและส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ โดยผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพจากความเสื่อม เช่น ตามัว หูหนวก หรือมีภาวะของโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุลดลง และอาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ, 2554) ผู้สูงอายุจึงมีความต้องการพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น ในขณะที่สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย อันเป็นผลจากคนไทยอายุยืนขึ้นและอัตราการเกิดที่ลดลง (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2556) จึงส่งผลให้สัดส่วนผู้สูงอายุกับประชากรวัยต่าง ๆ ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาขาดผู้ดูแล ดังนั้นแนวโน้มในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชนและสถานบริการสาธารณสุขเพื่อวางแผนดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
แนวโน้มการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในอนาคต
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกช่วงวัย (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2556) โดยดัชนีชี้วัดภาวะสุขภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งของคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม ในการดูแลผู้สูงอายุซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีบนข้อจำกัดของการขาดแคลนผู้ดูแลจึงเป็นความท้าทายของระบบสุขภาพในการจัดการให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง จากการศึกษาแนวโน้มการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 พบว่า การจัดระบบการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้สูงอายุโดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดระบบจะส่งผลให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่
1) การจัดระบบบริการให้สามารถเข้าถึงได้สะดวกโดยจัดให้อยู่ใกล้แหล่งชุมชนและมีความปลอดภัยในการไปรับบริการ
2)การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยจัดทีมสุขภาพที่ดูแลตลอดการรักษาระยะยาวและต่อเนื่อง
3) การบริการแบบผสมผสานโดยให้บริการที่ครอบคลุมทั้งสี่มิติทางการพยาบาล ได้แก่ การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟู
4) การดูแลแบบองค์รวม
5) การประสานการดูแล โดยการประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัวผู้สูงอายุกับหน่วยงานบริการสุขภาพเพื่อสนับสนุนให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ
6) การเสริมพลังชุมชนโดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชน ครอบครัวผู้สูงอายุ มีศักยภาพในการจัดการปัญหาของผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ (จินตนา อาจสันเที๊ยะ และรัชณีย์ ป้อมทอง, 2561) ดังนั้น การจัดระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ ทั้งสนับสนุนครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทั้งสี่มิติทางการพยาบาลโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และสถานบริการสุขภาพของชุมชนเพื่อร่วมวินิจฉัยภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุและวางแผนให้การดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในภาพรวม และรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาช่วยในการให้คำปรึกษา ประสานงาน และติดตามประเมินผล ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Shoulder Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอกและหลัง
Chest Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอก
Pec Deck
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าอก ไหล่และหลัง
Arm Flexion/Extension
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ แขน และต้นแขน
Abdominal/Back
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าท้อง และหลัง
Back Extension
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หลัง และหน้าท้อง
Leg Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ขา และสะโพก
Adduction/Abduction
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านใน และด้านนอก
Leg Extension/Leg Curl
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง
#แนวโน้มการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สุงอายุในอนาคต #ฝึกระบบประสาทและความสามารถในการรับรู้เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุพร้อมป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม #หกล้ม #ล้มในผู้สูงวัย #ผู้สูงอายุหกล้ม #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหาร