การรับมือกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

การรับมือกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยสูงอายุ เพราะวัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมจนมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างภาวะซึมเศร้ามากขึ้น

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life Depression) มักเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พบมากถึง 10 – 20% ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด และพบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งยิ่งมีอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะประสบกับภาวะดังกล่าวมากขึ้น โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุและภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในช่วงที่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว เนื่องจากในวัยนี้มักมีการเปลี่ยนแปลงหลายหลายด้าน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย ได้แก่

  • การประสบกับโรคทางกายบางชนิด เช่น โรคสมองเสื่อมหรือโรคพาร์กินสัน
  • การประสบกับภาวะความเจ็บป่วยทางกายที่เรื้อรัง ทำให้เกิดความทุกข์ ความทรมาน เช่น โรคไต ปวดข้อ โรคมะเร็ง เบาหวาน ไขมันในเลือด ภาวะทุพพลภาพ ฯลฯ
  • ผลกระทบจากการรับประทานยาบางชนิดหรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง
  • การต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหรือบุคคลใกล้ชิด เช่น คู่ชีวิต เพื่อนสนิท ฯลฯ
  • การเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่การงาน การเกษียณอายุการทำงาน การขาดรายได้
  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การสูญเสียสถานะในครอบครัว ต้องเปลี่ยนจากบทบาทผู้นำครอบครัวเป็นผู้ตาม
  • ความวิตกกังวลต่าง ๆ ความเหงา กลัวตนเองเป็นภาระ กลัวลูกหลานไม่รัก
  • มีปัญหาหนี้สิน รายได้น้อย ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้

ข้อสังเกตเมื่อผู้สูงวัยมีภาวะซึมเศร้าและวิธีการแก้ไข

  • รับประทานอาหารน้อยลง

การที่ผู้สูงอายุรับประทานอาหารน้อยลงทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร ดังนั้นอาจกระตุ้นหรือชักชวนให้ท่านทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้งขึ้น ร่วมกับการปรับเปลี่ยนเมนูอาหารให้บ่อยขึ้น จัดจานให้น่ารับประทาน โดยเน้นไปที่อาหารอ่อน ย่อยง่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

  • เบื่อหน่าย ความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวลดลง เบื่อหน่าย ไม่อยากทำในสิ่งที่เคยชอบ

พยายามกระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยอาจเริ่มจากสิ่งง่าย ๆ เช่น ชักชวนทำกิจกรรมที่เคยชอบร่วมกัน หรือกระตุ้นให้ผู้สูงอายุดูแลตนเอง เช่น แต่งตัว แปรงฟัน เพื่อให้พวกท่านรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง หรือพาออกไปข้างนอก พบเจอบรรยากาศและสิ่งใหม่ ๆ

  • นอนไม่หลับหรือนอนมากไป

หลีกเลี่ยงการให้ผู้สูงอายุนอนหลับในช่วงกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงเที่ยงถึงช่วงเย็น เพราะอาจทำให้เกิดการนอนไม่หลับหรือหลับยาก อาจชวนทำกิจกรรมเบา ๆ ก่อนนอน เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือฟังธรรมะ

  • พูดคุยน้อยลง ชอบปลีกวิเวก

เริ่มจากการพูดคุยในหัวข้อที่ผู้สูงอายุสนใจหรือเรื่องราวในอดีตที่มีความสุข ให้โอกาสท่านพูดสิ่งที่ต้องการ และรับฟังอย่างตั้งใจ ไม่ขัดจังหวะ ไม่แสดงความรำคาญ ร่วมกับการตั้งคำถามปลายเปิด หากผู้สูงอายุไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ควรต่อว่าหรือบังคับให้ทำ อาจหาเวลาทานข้าวร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างพร้อมหน้า

  • อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิด ฉุนเฉียว

ปล่อยให้ผู้สูงอายุระบายความรู้สึก ไม่ควรโวยวาย ต่อว่า หรือโต้เถียง เพราะจะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุอารมณ์ขุ่นมัวมากขึ้น พยายามเบี่ยงความสนใจจากเรื่องที่ทำให้หงุดหงิด

  • บ่นว่าไม่สบายหรือเจ็บปวดตามร่างกาย แต่แพทย์ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติใด ๆ

การคิดว่าตนเองป่วยทั้งที่แพทย์ตรวจไม่พบสาเหตุเป็นสัญญาณหนึ่งที่แสดงว่าผู้สูงอายุต้องการความรักและความเอาใจใส่มากขึ้น ไม่ควรต่อต้านหรือตอกย้ำว่าพวกท่านไม่ได้เป็นอะไร แต่ควรสื่อสารและเอาใจใส่มากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อผู้สูงอายุบ่น โดยควรให้ความสำคัญกับอาการต่าง ๆ อย่างจริงใจ

  • บ่นว่าตนเองเป็นภาระของลูกหลาน เบื่อตนเอง รู้สึกว่าตนไร้ค่า มีความคิดอยากตาย

ถือเป็นจุดวิกฤติ ควรเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ให้คลาดสายตาย เก็บสิ่งของมีคมหรือที่ใช้เป็นอาวุธได้ อาทิ มีด ปืน ยาฆ่าแมลง ยานอนหลับ ฯลฯ ไว้ให้มิดชิด พยายามแสดงให้เห็นว่าพวกท่านยังมีคุณค่า และเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ระบายความรู้สึกหรือบอกเล่าปัญหาที่กำลังประสบ แล้วจึงช่วยกันหาทางแก้ไข หรือพาไปพบแพทย์ทันที

สถิติการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น หากครอบครัวใดที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้านควรดูแลเอาใจใส่และหมั่นสังเกตอาการของพวกท่านอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

การรับมือกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!