นักวิจัยพบว่าเนื้อสัตว์แปรรูปนอกจากก่อมะเร็งแล้ว อาจทำให้เสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในช่วงบั้นปลาย
นักวิจัย พบหลักฐานเพิ่มเติมที่เชื่อมโยงกับภาวะสมองเสื่อม ในการรับประทานเนื้อแดงที่เป็นอาหารแปรรูปนอกจากโรคมะเร็ง โดยเผยว่าอาหารเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพสมองได้ด้วยเช่นกัน
แน่นอนว่าคนที่กินเนื้อแดงแปรรูปเป็นประจำ เช่น ฮอตดอก เบคอน ไส้กรอก ซาลามิ และโบโลญญา นอกจากจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งแล้ว นักวิจัยยังค้นพบความเกี่ยวเนื่องสำคัญที่ส่งผลให้เป็นโรคสมองเสื่อมในภายหลังมากขึ้น
บทสรุปของการวิจัยเบื้องต้นนี้ถูกนำเสนอในการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ โดยการศึกษานี้ ได้ติดตามผู้ใหญ่มากกว่า 130,000 คนในสหรัฐอเมริกา เป็นเวลาสูงสุด 43 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม 11,173 ราย “ผู้ที่บริโภคเนื้อแดงแปรรูปประมาณสองหน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ โดยพวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์” เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่าสามหน่วยต่อเดือน
เนื้อสัตว์แปรรูปส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภท “อาหารแปรรูปพิเศษ” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากส่วนผสม เช่น โปรตีนถั่วเหลืองไอโซเลท น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตส แป้งแปรรูป สารปรุงแต่งรส หรือสารเติมแต่งสี อาหารเหล่านี้หลายชนิดยังมีน้ำตาล ไขมัน หรือโซเดียมในระดับสูง ซึ่งเป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพ และก่อโรคสำคัญอย่างมะเร็งได้
การศึกษาหลายชิ้นที่ตีพิมพ์ไปนี้ในปีที่ผ่านมา พบความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขึ้นกับความบกพร่องทางสติปัญญา
การศึกษาหนึ่งจากผู้ใหญ่วัยกลางคนมากกว่า 10,000 คนในบราซิล ผู้คนที่บริโภคแคลอรีต่อวันจากอาหารที่ผ่านการแปรรูปพิเศษ ตั้งแต่ 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป พบว่าการรับรู้ลดลงอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการทดสอบการทำงานของพวกเขาตลอดระยะเวลาแปดปี
นอกจากนี้การวิจัยที่ติดตามผู้สูงอายุมากกว่า 72,000 คนจากสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 10 ปี พบว่าอาหารที่มีการแปรรูปพิเศษมากกว่าร้อยละ 10 มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในการเกิดภาวะสมองเสื่อม
ในทำนองเดียวกันการศึกษาติดตามชาวอเมริกัน 30,000 คนเป็นเวลาเฉลี่ย 11 ปี รายงานว่าการบริโภคอาหารที่ผ่านการแปรรูปเป็นพิเศษเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อความบกพร่องทางสติปัญญา 16 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้การบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้นยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองที่สูงขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ แต่แม้ว่าการศึกษาเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารแปรรูปพิเศษกับสุขภาพสมอง แต่ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอาหารนั้นเป็นอันตรายต่อสมองโดยตรง และไม่ใช่ทุกการศึกษาที่พบว่ามีความเชื่อมโยงที่สอดคล้องกันระหว่างการบริโภคอาหารที่ผ่านการแปรรูปเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ‘“การรับประทานเนื้อแดงที่ไม่แปรรูป เช่น เนื้อสเต๊ก หรือพอร์คชอป” พวกนี้ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าผู้ที่รับประทานเนื้อแดงทุกวันมีแนวโน้มทำให้พวกเขารู้สึกว่าการรับรู้ของตนลดลงมากกว่าผู้ที่รับประทานเนื้อแดงไม่บ่อยนัก
ปัจจุบันอาหารที่ผ่านการแปรรูป รวมถึงน้ำอัดลม โยเกิร์ตปรุงแต่ง ซุปสำเร็จรูป และซีเรียลอาหารเช้าส่วนใหญ่ ถือเป็นส่วนสำคัญของอาหารอเมริกัน คิดเป็นประมาณร้อยละ 58 ของแคลอรีที่ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่บริโภคโดยเฉลี่ย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยได้เชื่อมโยงอาหารเหล่านี้เข้ากับสภาวะสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน มะเร็งบางชนิด และโรคระบบทางเดินอาหารบ้างแล้ว และปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างอาหารเหล่านี้กับสุขภาพสมองเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ดร.ตง หวัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่โรงพยาบาลบริกแฮม โรงพยาบาลผู้หญิง และโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาเนื้อแดงครั้งใหม่กล่าว “ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าหากคุณกินเนื้อแดงแปรรูปจำนวนหนึ่งคุณจะเป็นโรคสมองเสื่อมอย่างแน่นอน แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างหาข้อพิสูจน์อื่นมากทดแทนไม่ได้”
“เนื่องจากการศึกษาหลายชิ้นได้รายงานผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับอาหารที่ผ่านการแปรรูปเป็นพิเศษ เราจึงต้องดำเนินการอย่างจริงจัง” ดร.ฮุสเซน ยัสซีน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจาก Keck School of Medicine แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย กล่าว
อาหารแปรรูปพิเศษ ส่งผลต่อสุขภาพสมองอย่างไร
ปัจจุบันนี้ผู้เชี่ยวชาญยังมีการดำเนินการวิจัยต่อไป และไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีทฤษฎีอยู่สองสามข้อ อาจเป็นหนึ่งในสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นดังนี้
- ทฤษฎีที่ 1 : สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลต่อสุขภาพหลอดเลือดได้
“ภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารที่มีอาหารแปรรูปสูงเป็นพิเศษ และมีผลกระทบต่อสุขภาพของหลอดเลือดของเราเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทานอาหารแปรรูปพิเศษ สารอาหารเหล่านี้ไปกระตุ้นสมองที่มีความไวอย่างยิ่งต่อการส่งสารอาหาร และออกซิเจน หากหลอดเลือดที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้วจากโรคดังกล่าว สามารถทำให้สมองเสี่ยงต่อการสึกหรอได้มากขึ้น และในทางกลับกัน ก็สัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง และความบกพร่องทางสติปัญญา” ดร.ดับเบิลยู เทย์เลอร์ คิมเบอร์ลี หัวหน้ากล่าว
- ทฤษฎีที่ 2 : การเข้ามาแทนที่สารอาหารที่มีประโยชน์
โภชนาการที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสมองที่แข็งแรง การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่มีผัก และผลไม้ ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว เนื้อไม่ติดมัน และไขมันที่ดีต่อสุขภาพสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม
อาจเป็นไปได้ว่าอาหารที่มีอาหารแปรรูปมากเป็นพิเศษนั้นไม่ดีต่อสมอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า “หากคุณบริโภคอาหารแปรรูปพิเศษจำนวนมาก นั่นหมายความว่าตัวเองจะได้บริโภคผัก และผลไม้สดน้อยลง รวมถึงตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพอื่นๆ น้อยลง ยิ่งไปกว่านั้น สารต้านอนุมูลอิสระ และฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในอาหารเพื่อสุขภาพยังแสดงให้เห็นในการศึกษาในสัตว์ทดลอง เพื่อลดการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในสมองในทางกลับกันสามารถช่วยให้เซลล์สมองมีสุขภาพที่ดีและสื่อสารได้ดีขึ้น
- ทฤษฎีที่ 3 : อาหารแปรรูป “ภาระต่อสมอง” ที่ทำลายเซลล์สมอง อย่างมาก
“อาหารแปรรูปภาระต่อสมองอย่างมาก” คำนี้ ดร.คาริมา เบนาเมอร์ รองศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเอมอรี กล่าว
ตัวอย่างเช่นจากการวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าสารประกอบที่เป็นอันตรายที่พบในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสัตว์สูง หรืออาหารที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูงมาก เช่น โดยการทอด อาจเป็นอันตรายต่อเซลล์สมองได้ สารประกอบเหล่านี้สามารถสะสมในสมอง ส่งเสริมการอักเสบ และความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน การศึกษาบางชิ้นได้เชื่อมโยงสารประกอบเหล่านี้กับความเสื่อมถอยทางสติปัญญา และภาวะสมองเสื่อม
แม้ปัจจุบันนักวิจัยยังคงพยายามแยกแยะอย่างชัดเจนว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปเป็นพิเศษนี้ อาจรบกวนสุขภาพสมองได้อย่างไร แต่นักวิจัยเหล่านี้ก็ได้แนะนำ และเชิญชวนในการปรับพฤติกรรมการทานเพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
โดยการมุ่งเน้นไปที่การลดอาหารแปรรูป และแทนที่ด้วยทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ โดยการเริ่มต้นด้วยการลดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม และเปลี่ยนไปดื่มน้ำเปล่า หรือชาเย็นที่ไม่หวาน จากนั้นให้แลกเปลี่ยนเนื้อแดงแปรรูปกับแหล่งโปรตีนอื่นๆ เช่น ปลา ไก่ ถั่ว ถั่วเลนทิล และถั่วเปลือกแข็ง และเสริมไปที่การเพิ่มอาหารที่ไม่แปรรูปที่มีเส้นใยสูง เช่น ผลไม้ ผัก พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดธัญพืช
Shoulder Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอกและหลัง
Chest Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอก
Pec Deck
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าอก ไหล่และหลัง
Arm Flexion/Extension
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ แขน และต้นแขน
Abdominal/Back
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าท้อง และหลัง
Back Extension
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หลัง และหน้าท้อง
Leg Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ขา และสะโพก
Adduction/Abduction
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านใน และด้านนอก
Leg Extension/Leg Curl
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง
#นักวิจัยพบว่าเนื้อสัตว์แปรรูปนอกจากก่อมะเร็งแล้วอาจทำให้เสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในช่วงบั้นปลาย #ฝึกระบบประสาทและความสามารถในการรับรู้เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุพร้อมป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม #หกล้ม #ล้มในผู้สูงวัย #ผู้สูงอายุหกล้ม #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหาร