“หินปูน” เกาะผนังหลอดเลือดหัวใจ โรคใกล้ตัว..ที่ไม่ควรมองข้าม
คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจประมาณเกือบ 5 แสนคน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ระบุว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก โดยในเอเชียพบจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้มากที่สุดถึง 58% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากทั่วโลก หรือราว 10.8 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบการเสียชีวิตของคนไทยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน หรือประมาณ 7 หมื่นรายต่อปี โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ภาวะ…หินปูนเกาะผนังหลอดเลือดหัวใจ ที่เรียกว่าหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (coronary artery occlusion) เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตฉับพลันของคนไทย เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมโดยธรรมชาติของแคลเซียมในร่างกาย ที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็ง หรือเกิดจากกลไกของร่างกายสร้างแคลเซียมมาป้องกันบริเวณที่เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังอาจแฝงตัวมากับคราบไขมันที่เกาะติดบริเวณหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลง
ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ทานอาหารแบบเร็วๆ อาหารที่มีไขมันสูง ปาร์ตี้บ่อย สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนน้อย พฤติกรรมที่ว่านี้เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดหลอดเลือดเสื่อมและตีบตันได้ง่าย
โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคไขมันที่มากเกินไปจนร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมด ทำให้เหลือค้างอยู่ในกระแสเลือด โดยเฉพาะไขมันเสียที่มีความหนาแน่นต่ำ (Small LDL) หรือที่เรียกว่า “ไขมันเลว” รวมไปถึงไขมันทรานส์ (Trans Fat) ที่พบได้ในกลุ่มเบเกอรี มาการีน ครีมเทียม อาหารจานด่วนที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ เมื่อคอเลสเทอรอลตกค้างอยู่ในกระแสเลือดมีปริมาณมาก ร่างกายก็ต้องกำจัดไขมันเหล่านั้นออก ด้วยการส่งเม็ดเลือดขาวเข้าไปทำลายโมเลกุลของไขมันนั้น ทำให้เกิดการสะสมของไขมันอยู่ตามผนังหลอดเลือด ที่โดยปกติหลอดเลือดของคนทั่วไปจะมีสีแดง เลือดสามารถไหลเวียนได้ดี แต่เมื่อมีไขมันไปเกาะมากๆ ผนังหลอดเลือดก็จะกลายเป็นสีเหลือง กลไกของร่างกายก็พยายามที่จะเอาเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปหุ้มคราบไขมันที่สร้างความระคายเคืองให้หลอดเลือดเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดปริ แตก เปรียบเสมือนสะเก็ดแผล เวลาเกิดแผลร่างกายก็จะมีการสมาน แต่การสมานแผลของหลอดเลือด ร่างกายจะใช้วิธีการนำหินปูนเข้าไปอุดรอยแตกเหล่านั้น ยิ่งมีไขมันมากหลอดเลือดก็ระคายเคืองมาก จึงเกิดเป็นหินปูนในหลอดเลือดมากตามมา
เมื่อเกิดหินปูนในหลอดเลือด หลอดเลือดจะไม่ได้เกิดการตีบตันในทันที แต่ร่างกายจะตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมด้วยการโป่งพองออกจนสุด (positive remodeling) ก่อนที่จะย่นเข้ามาแล้วตีบตันในที่สุด ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเป็น 10 ปีกว่าจะเริ่มตีบตัน ฉะนั้นคนส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อหลอดเลือดตีบตันไปมากและแสดงอาการ ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดอาจรู้ก็ต่อเมื่อหัวใจวายเฉียบพลันไปแล้วนั่นเอง
และอย่างที่บอก ภาวะหินปูนเกาะผนังหลอดเลือดไม่มีอาการแสดง กว่าจะรู้ก็เมื่อร่างกายทนไม่ไหวและอาการรุนแรงถึงขั้นหัวใจวาย สิ่งสำคัญที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดหินปูนมากเกินไปจนไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งสามารถทำได้โดยการควบคุมคอเลสเทอรอล ลดการนำไขมัน LDL เข้าร่างกาย และเพิ่มไขมัน HDL ซึ่งมีส่วนช่วยในการขจัดไขมันไม่ดีออกจากหลอดเลือด และยังมีส่วนในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชัน การอักเสบ และการแข็งตัวของเลือด ซึ่งก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้
นอกจากนี้ การตรวจร่างกายประจำปี หรือการตรวจหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจเทคนิคการสแกนคอมพิวเตอร์ (Calcium Scoring, CT) ซึ่งเป็นการตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนที่หัวใจ ที่อาจเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ก็จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจากหินปูนที่เกาะผนังหลอดเลือดหัวใจได้อีกทางหนึ่ง.
Shoulder Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอกและหลัง
Chest Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอก
Pec Deck
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าอก ไหล่และหลัง
Arm Flexion/Extension
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ แขน และต้นแขน
Abdominal/Back
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าท้อง และหลัง
Back Extension
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หลัง และหน้าท้อง
Leg Press
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ขา และสะโพก
Adduction/Abduction
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านใน และด้านนอก
Leg Extension/Leg Curl
เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง
#หินปูนเกาะผนังหลอดเลือดหัวใจ โรคใกล้ตัว..ที่ไม่ควรมองข้าม #ฝึกระบบประสาทและความสามารถในการรับรู้เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุพร้อมป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม #หกล้ม #ล้มในผู้สูงวัย #ผู้สูงอายุหกล้ม #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหาร