ภาวะโคลงเคลง เสียการทรงตัว อย่านิ่งนอนใจ

ภาวะโคลงเคลง เสียการทรงตัว อย่านิ่งนอนใจ

  • มีอาการอย่างไรบ้าง
  • สาเหตุเกิดจากอะไร
  • ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
  • วินิจฉัยได้อย่างไร
  • รักษาได้อย่างไร

มีอาการอย่างไรบ้าง

เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวลอย โคลงเคลง ทรงตัวไม่ได้หรือเวียนศีรษะ/เวียนศีรษะหมุน หากกำลังยืนอยู่กับที่ นั่งหรือนอน อาจรู้สึกว่าตัวลอย หัวหมุน หากกำลังเดินอยู่อาจรู้สึกว่าตัวโคลงเคลง เซไปข้างใดข้างหนึ่งเหมือนกำลังจะหกล้มหรือหกล้ม
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล ตื่นตระหนก อาการเหล่านี้อาจเป็นอยู่เพียงชั่วครู่หรือระยะเวลานาน
 

สาเหตุเกิดจากอะไร

การทรงตัวต้องอาศัยระบบ 3 ระบบทำงานประสานกันเพื่อให้ทรงตัวได้อย่างเป็นปกติ
ระบบแรกคือ หูชั้นใน (ซึ่งประกอบด้วยน้ำในหูและหินทรงตัว) และเส้นประสาทการทรงตัวที่ช่วยให้เราทำกิจวัตรประจำวันในอิริยาบถต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน การก้มหรือการหัน เป็นต้น

ระบบที่สองคือ ตา เราต้องใช้ตาในการมองทิศทาง สิ่งกีดขวางเพื่อระวังตัวไม่ให้เดินชน สะดุดหกล้ม ดังนั้นถ้ามีปัญหาตาบางอย่าง เช่น มองเห็นไม่ชัด มองในที่มืดได้ไม่ดี จะทำให้มีปัญหาเสียการทรงตัวมากขึ้น
ระบบที่สามคือ ระบบประสาทส่วนกลาง และกล้ามเนื้อไขข้อ มีระบบประสาทมีหน้าที่สั่งงานกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ของร่างกายว่าต้องเดินและทรงตัวอย่างไร

ดังนั้นหากระบบใดระบบหนึ่งในที่นี้ทำงานผิดปกติไป จะทำให้เราสูญเสียการทรงตัวและมีแนวโน้มที่จะหกล้ม ได้รับบาดเจ็บบาดเจ็บ ในบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต
 

ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเสียการทรงตัว เช่น

  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ยิ่งมีอายุมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เคยเป็นโรคเวียนศีรษะ เสียการทรงตัว
  • เคยเป็นโรคทางระบบประสาท
  • เคยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • เคยได้รับยาที่ทำลายหูชั้นในหรือประสาทหู
  • สารเคมีในสมองไม่สมดุล
  • ปัญหาไขข้อ เช่น เป็นโรคข้อเสื่อม
  • มีความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ
  • ใช้ยาบางประเภท เช่น ยาที่ออกฤทธิ์กับระบบประสาท ยาลดความดันโลหิตและยาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น


วินิจฉัยได้อย่างไร

ภาวะเสียการทรงตัวเกิดจากสาเหตุที่ซับซ้อน ดังนั้นการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดโดยแพทย์ผุ้ชำนาญการจึงเป็นสิ่งสำคัญ แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการทดสอบสมดุลการทรงตัวที่ทันสมัย เช่น

  • เครื่องตรวจการทรงตัวของร่างกาย (posturography) เป็นเครื่องมือวัดการทรงตัวเพื่อวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุใด ช่วยเป็นแนวทางในการรักษาและฟื้นฟู
  • เครื่องตรวจแรงดันของน้ำในหูชั้นใน (electrocochleography: ECOG)
  • เครื่องตรวจการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นในและก้านสมอง (videoelectronystagmography: VNG)

รักษาได้อย่างไร

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย หลังการรักษา ผู้ป่วยภาวะเสียการทรงตัวบางรายยังอาจหลงเหลือความบกพร่องอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นจึงต้องทำการบำบัดฟื้นฟูการทรงตัวอย่างต่อเนื่องหลังการรักษา

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

ภาวะโคลงเคลง เสียการทรงตัว อย่านิ่งนอนใจ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!