หลากหลายวิธีในการรักษาโรคอ้วน

หลากหลายวิธีในการรักษาโรคอ้วน

โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นจากการมีไขมันสะสมมากเกินไปในร่างกาย ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆด้าน และมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันอุดตัวในเส้นเลือด และความดัน  อย่างไรก็ดีวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาโรคอ้วนได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น


วิธีในการรักษาโรคอ้วน

1. การปรับพฤติกรรม

ขั้นตอนแรกของการจัดการกับโรคอ้วน คือ ปรับพฤติกรรมของตนเองทั้งทางด้านการกิน การออกกำลังกายและการใช้ชีวิตประจำวัน

  • พฤติกรรมการกินอาหาร กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเลือกข้าวหรือขนมปังที่มีกากใยสูง เนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย หลีกเลี่ยงหนังสัตว์ หากไม่กินเนื้อสัตว์ สามารถกินเต้าหู้ ไข่หรือปลาแทนได้ สำหรับผัก  ควรเลือกกินผักสีรุ้งหรือยิ่งหลายสียิ่งดีโดยไม่จำกัดปริมาณ   ผลไม้ให้เลือกชนิดที่หวานน้อยเท่านั้น สุดท้าย คือ ไขมัน ให้เลือกใช้น้ำมันตามวิธีการปรุงอาหาร นอกจากนี้ควรแบ่งการกินเป็นมื้อเล็กๆ อาหารเช้าสำคัญที่สุด ควรกินให้เพียงพอ อาหารเย็นควรกินน้อยที่สุด สำหรับมื้อว่างระหว่างมื้อ อาจเป็นผลไม้หรือถั่วอบที่ไม่ใส่เกลือ
  • พฤติกรรมการออกกำลังกาย การออกกำลังกายหลักๆมีอยู่ 2 แบบ หากต้องการลดน้ำหนักควรออกกำลังกายทั้งแบบคาร์ดิโอหรือแอโรบิก เช่น วิ่ง หรือต่อยมวย ซึ่งมุ่งเผาผลาญพลังงาน และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เพื่อเผาผลาญไขมันที่อยู่ในกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและร่างกายกระชับมากขึ้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เปลี่ยนพฤติกรรมจากการนั่งเฉยๆ เช่น ดูทีวี เล่นเกมส์มาเป็นการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น

2. การควบคุมน้ำหนักโดยใช้ยา

ในกรณีที่ผู้ป่วยพยายามปรับพฤติกรรมของตัวเองแล้วแต่ยังลดน้ำหนักไม่ได้ หรือน้ำหนักลดแล้วแต่กลับขึ้นมาใหม่ หรือสงสัยว่ามีโรคประจำตัว เช่น ความดันสูง เบาหวาน ปวดศีรษะทุกเช้า กลางคืนเหมือนนอนไม่พอ ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษา แพทย์อาจให้ยาเพื่อเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ช่วยให้ไม่หิวและอิ่มเร็วขึ้น ยาลดน้ำหนักบางชนิดยังช่วยรักษาโรคที่มีอยู่ได้อีกด้วย เช่น ไขมันเกาะตับ ลดระดับน้ำตาลในผู้ที่เป็นเบาหวาน ลดระดับไขมันและความดันโลหิต
 

3. การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Bariatric Surgery)

เป็นการผ่าตัดให้กระเพาะอาหารเล็กลงเพื่อให้ผู้ป่วยกินอาหารแล้วอิ่มเร็วขึ้นหรือลดการดดูดซึมอาหาร ลดแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับ การผ่าตัดกระเพาะอาหารทำได้ 2 วิธีใหญ่ๆคือ

  • การผ่าตัดกระเพาะอาหารให้เล็กลง (Sleeve gastrectomy) เป็นการผ่าตัดกระเพาะให้มีรูปทรงเหมือนกล้วยหอม ทำให้ความจุของกระเพาะอาหารลดลง (restrictive) และทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่มีผลทำให้น้ำหนักลดลงผ่านหลายกลไก เช่น ฮอร์โมน ghrelin, GLP-1, GLP-2, PYY, insulin, glucagon และ leptin โดยไม่มีผลกระทบต่อการดูดซึมแคลอรี่และสารอาหารในลำไส้
  • การผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร (Roux-en-Y gastric bypass) เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระเพาะอาหาร ให้สารอาหารข้ามส่วนที่มีการดูดซึมมากบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น ไปยังลำไส้ส่วนกลางหรือส่วนปลาย (malabsorptive) ช่วยให้ผู้ป่วยกินได้น้อยลง ลดปริมาณแคลอรี่ที่เข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยในการลดย้ำหนัก เช่น ฮอร์โมน gastrin, ghrelin, GLP-1, GLP-2, PYY, oxyntomodulin, insulin, GIP และ leptin


4. 
การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร (Endoscopic Sleeve Gastroplasty: ESG)

เป็นการเลียนแบบวิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหารให้เล็กลง (Sleeve gastrectomy) แต่แทนที่จะผ่าตัดทางช่องท้อง แพทย์จะใช้วิธีการส่องกล้องผ่านหลอดอาหารลงไปที่กระเพาะ เพื่อทำการเย็บกระเพาะให้มีขนาดเท่ากับผลกล้วยหอม ทำให้กระเพาะอาหารมีพื้นที่น้อยลง ผู้ป่วยอิ่มเร็วขึ้น

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อดีคือทำได้ด้วยตัวเองแต่เมื่อผ่านไปประมาณ 6 เดือน ร่างกายจะมีการปรับตัวทำให้น้ำหนักที่ลดลงไปกลับขึ้นมาใหม่ได้
  • การใช้ยา ข้อดีคือช่วยประคับประคองให้การลดน้ำหนักที่ลดได้แล้วอยู่อย่างถาวร อย่างไรก็ตามโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง เพราะฉะนั้นหากผู้ป่วยหยุดยา ร่างกายอาจกลับมาอ้วนขึ้นมาใหม่
  • การผ่าตัดกระเพาะอาหาร สามารถทำให้น้ำหนักลงลงได้ในปริมาณที่เยอะ ถึง 60-70% ของน้ำหนักที่เกินมา ข้อเสียคือ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดช่องท้องทั่วๆไป เช่น ภาวะเลือดออก รอยผ่าตัดรั่วหรือติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม อาการแทรกซ้อนเหล่านี้เกิดขึ้นได้น้อยในมือศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการ
  • การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร มีข้อดีคือไม่มีแผลที่หน้าท้อง ดังนั้นผู้ป่วยจึงเจ็บน้อยและฟื้นตัวเร็ว อย่างไรก็ตามอาจมีโอกาสติดเชื้อซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยมากหากทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ รวมถึงอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งต้องผ่านการเตรียมคนไข้ด้วยทีมผู้ชำนาญการ และมักหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน การใช้ยาเสริมควบคู่ไปกับการเย็บกระเพาะอาหารสามารถทำให้ลดน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้นอีก

นอกจากนี้ยังพบว่าการเย็บกระเพาะอาหารส่งผลให้เกิดกรดไหลย้อนได้น้อยมาก (2%) เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบ sleeve gastrectomy (15%) และเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยรวมน้อยมาก (2%) เมื่อเทียบกับการใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร (17%) นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจะต้องทำการถอดบอลลูนออกเมื่อเข้าเดือนที่ 6 ทำให้กลับมามีน้ำหนักเพิ่มได้ตามเดิมหรือมากกว่าเดิม การส่องกล้องผ่านทางปากเพื่อเย็บกระเพาะอาหารจึงส่งผลให้การควบคุมน้ำหนักระยะยาวได้ผลดีกว่าการรักษาแบบใส่บอลลูน
 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีไหน

การรักษาโรคอ้วนเป็นการรักษาที่ใช้ผู้ชำนาญการหลายสาขา ดังนั้นผู้ป่วยควรเลือกรักษาในสถานรักษาพยาบาลที่มีผู้ชำนาญการหลายด้านเพื่อให้ลดน้ำหนักได้อย่างถูกวิธี ปลอดภัยและได้ผลยั่งยืน เช่น ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดลดความอ้วน แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโภชนาการ

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

หลากหลายวิธีในการรักษาโรคอ้วน เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!