ระวัง! หูตึง…เสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อม

ระวัง! หูตึง…เสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อม

 “ตะกี้พูดว่าอะไรนะ ไม่ได้ยิน” คนรอบตัวผู้สูงอายุอาจเคยชินกับคำถามเช่นนี้และการที่ต้องพูดซ้ำๆเพราะผู้สูงอายุไม่ได้ยินและคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่มาพร้อมกับวัย แต่ผลงานวิจัยล่าสุดได้บ่งบอกว่าภาวะสูญเสียการได้ยินมีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคสมองเสื่อมอย่างเป็นนัยสำคัญ จากสถิติ  หนึ่งในหกของคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีภาวะสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นจึงมีคำแนะนำผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินทุกปี หากพบว่าเริ่มมีปัญหาการได้ยินเล็กน้อยหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรติดตามผลเป็นระยะ ในกลุ่มคนที่ตรวจพบการได้ยินผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น ช่วยให้การสื่อสาร และการเข้าสังคมของผู้ป่วยดีขึ้น รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อม

ภาวะสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบได้มากที่สุดคือประสาทหูเสื่อม นอกจากนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การอักเสบของหูชั้นใน โรคเนื้องอกประสาทหู หูถูกทำลายจากยาหรือสารเคมี หรือจากการได้รับเสียงดังเกินขีดมาตรฐาน ดังนั้นจึงควรมาพบแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการสูญเสียการได้ยิน

ผลกระทบของภาวะสูญเสียการได้ยินมีอะไรบ้าง

นอกจากการสูญเสียการได้ยินจะทำให้สมองเสื่อมถอยจนอาจนำไปสู่โรคความจำเสื่อมแล้ว การสูญเสียการได้ยินยังมีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ เพราะสื่อสารกับผู้อื่นอย่างยากลำบาก ทำให้ไม่อยากเข้าสังคม แยกตัวออกจากผู้อื่น รู้สึกโดดเดี่ยว นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเพราะไม่ได้ยินเสียง

ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

  • มีอายุมากกว่า 50 ปี
  • เป็นโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไตและภาวะไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น
  • ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เช่น โรงงาน เขตอุตสาหกรรม สถานบันเทิง
  • อาศัยอยู่ในบ้านหรือชุมชนที่มีเสียงดัง เช่น ในเมืองหลวง
  • ทำกิจกรรม งานอดิเรกหรือเล่นกีฬาที่มีเสียงดังและไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันหู เช่น ยิงปืน จุดประทัด ฟังเพลงเสียงดังๆ
  • เคยได้รับรังสี เช่น ได้รับการฉายแสงบริเวณศีรษะและลำคอ
  • มีกรรมพันธุ์หรือประวัติคนในครอบครัวสูญเสียการได้ยิน
  • เคยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ใช้ยาบางประเภทที่มีพิษต่อประสาทหู  ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Aminoglycosides เช่น เจนตามัยซิน ยารักษามะเร็ง ยาควินิน และยารักษาอาการเสื่อมสมรรถนะทางเพศซิลเดนาฟิลหรือไวอากร้า เป็นต้น

ตรวจวินิจฉัยได้ด้วยวิธีการใดบ้าง

การตรวจวินิจฉัยทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • การตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยิน (Audiogram) โดยให้ผู้ถูกทดสอบนั่งอยู่ในห้องเก็บเสียงแล้วปล่อยเสียงออกมาเพื่อวัดว่าผุ้ถูกทดสอบได้ยินในระดับใดและสามารถแปลความหมายคำพูดได้ดีหรือไม่
  • การตรวจวัดคลื่นการได้ยินระดับเส้นประสาทการได้ยินและก้านสมอง (Auditory Brainstem Response หรือ ABR) เป็นการตรวจโดยใช้เสียงกระตุ้นการตอบสนองของเส้นประสาทการได้ยินและก้านสมองและบันทึกเป็นคลื่นไฟฟ้า
  • การตรวจการทำงานของเซลล์ขนของอวัยวะการได้ยิน (Cochlea) ในหูชั้นใน (Otoacoustic Emission หรือ OAE)
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะภายในหู และเส้นประสาทการได้ยิน

การรักษาทำได้อย่างไร

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ อย่างไรก็ตามหากสาเหตุเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัยมักรักษาไม่หายขาด ต้องหาทางชะลอความเสื่อมและหาทางป้องกันไม่ให้ประสาทเสียงเสื่อมมากขึ้น วิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง ได้แก่

  • เครื่องช่วยฟัง (Hearing aids) ที่สวมใส่จากภายนอก เช่นสวมใส่ในหูหรือหลังใบหู
  • เครื่องช่วยฟังชนิดผ่าตัดฝังในกะโหลกศีรษะ (Bone anchored hearing aids)
  • เครื่องประสาทหูเทียม (Cochlear Implant)

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ www.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://web.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

ระวัง! หูตึง… สี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อม เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ ลู่วิ่ง ผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ ผู้สูงวัย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ และการหมุนเวียนโลหิต การหมุนเวียนโลหิต บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ aswellcare.com aswellcare เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  Hydraulic Cylinder อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ฟื้นฟู อุปกรณ์บำบัด อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ มืออ่อนแรง ฝึกนิ้วมือ อัมพฤกษ์ อัมพาต บทความสุขภาพ การดูแลผู้สูงวัย การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!