รู้ทัน “โรคพาร์กินสัน” สังเกตุอาการเตือนก่อน เพราะยิ่งรักษาเร็ว…คุณภาพชีวิตผู้ป่วยยิ่งดีกว่า
ใครหลายคนคงจะเคยได้ยินว่า “โรคพาร์กินสัน” นั้นเป็นโรคเสื่อมของระบบประสาท ซึ่งตามสถิติแล้วมักพบในผู้สูงวัย ที่มีอายุเฉลี่ย 60-65 ปี โดยในคนไทยมีโอกาสเป็นพาร์กินสัน 1-1.5 แสนคน และในปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มผู้ป่วยด้วยโรคนี้สูงขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีเรื่องที่น่าตกใจยิ่งกว่า เมื่อพบว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 8 ที่เป็นโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 40 ปีอีกด้วย
สมองเสื่อม…เป็นเหตุสังเกตได้
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของสมองอย่างช้าๆ ทำให้สารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ในสมองลดลง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวช้า, อาการสั่นหรืออาการแข็งเกร็ง รวมทั้งมีปัญหาในการทรงตัวด้วยเช่นกัน และยังพบว่าผู้ป่วยบางรายมีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เนื่องจากโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมอีกด้วย
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน
- กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุเฉลี่ย 60-65 ปี และผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่า 1.5 เท่า
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เพราะโรคนี้ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
- ผู้ที่สัมผัสกับยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าวัชพืชอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
รู้ไหม? อาการ “พาร์กินสัน” ไม่ใช่แค่สั่นอย่างเดียว
โดยทั่วไป ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น อายุของผู้ป่วย ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา ซึ่งอาการแสดงแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
1. อาการที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
- อาการสั่น – เป็นอาการเริ่มต้นของโรค พบมากที่มือและเท้า ซึ่งอาการจะสั่นรุนแรงมากเป็นพิเศษเวลาอยู่นิ่งๆ หรือขณะพัก
- อาการเกร็ง – ปัญหากล้ามเนื้อเกร็ง
- เคลื่อนไหวช้า – ผู้ป่วยเคลื่อนไหวช้า ขาดความกระฉับกระเฉง
- ปัญหาการทรงตัว – ผู้ป่วยมีการทรงตัวไม่ดี เวลาเดินหกล้มได้ง่าย
2. อาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางจิตประสาท เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล โมโหร้าย หรือบางรายอาจมีปัญหาเรื่องการรับกลิ่น มีอาการท้องผูก เวียนศีรษะ หรือง่วงนอนในตอนกลางวัน นอนไม่หลับในเวลากลางคืน เนื่องจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาทนั่นเอง
ยิ่งรักษาได้เร็ว…ยิ่งเพิ่มโอกาสกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี
การรักษาโรคพาร์กินสันมีหลายวิธี ตั้งแต่การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด กินยา ไปจนถึงการผ่าตัดกระตุ้นสมอง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
1 · การกายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย
ช่วยให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและสมส่วน รวมถึงปรับการทรงตัวของร่างกายให้มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง
2 · การรักษาด้วยการรับประทานยา
เพื่อเพิ่มระดับสารโดปามีน หรือการกระตุ้นตัวรับโดปามีนในสมอง ช่วยลดอาการสั่นและควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
3 · การรักษาด้วยยาฉีดแบบให้ต่อเนื่อง
เพื่อลดปัญหาการตอบสนองต่อยาที่ไม่สม่ำเสมอ ผ่านการปลดปล่อยยาอย่างต่อเนื่องด้วยปั๊ม ประกอบด้วยยา 2 ชนิด คือ ยา Apomorphine และยา Levodopa-carbidopa intestinal gel
4 · การผ่าตัด
การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation หรือ DBS) คือการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตอบสนองต่อยาที่ไม่สม่ำเสมอ หรือมีอาการสั่นรุนแรง
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบใดก็ตาม จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดย โรงพยาบาลพญาไท 2 มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา-โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึ่งได้ศึกษาด้านการรักษาโรคพาร์กินสันด้วยการใช้หัตถการร่วมรักษา ทั้งการให้ยาต่อเนื่องและการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึกมาเป็นอย่างดี จึงมีความพร้อมในการให้คำแนะนำกับผู้ป่วยทุกคน
แม้ว่าโรคพาร์กินสันจะรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่เป้าหมายสำคัญกว่านั้นคือ การทำให้ผู้ป่วยกลับคืนมาสู่สภาพชีวิตที่ดีและใกล้เคียงกับคนปกติให้ได้มากที่สุด สามารถเข้าสังคมและช่วยเหลือตัวเองได้ เหนือสิ่งอื่นใด…ความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะละเลยไม่ได้จริงๆ
ที่มา : บทความโดย ผศ.พญ.ดร. อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 2
————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ WWW.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://www.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818
#โรคพาร์กินสัน #ฝึกระบบประสาทและความสามารถในการรับรู้เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุพร้อมป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม #หกล้ม #ล้มในผู้สูงวัย #ผู้สูงอายุหกล้ม #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหารขา #บริหารหน้าท้อง #บริหาร #ลดแรงเสียดทาน #สร้างกล้ามเนื้อ