เช็กอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภัยเงียบของผู้สูงอายุและวัยทำงาน

เช็กอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภัยเงียบของผู้สูงอายุและวัยทำงาน

เช็กอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภัยเงียบของผู้สูงอายุและวัยทำงาน

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภัยเงียบของวัยทำงานและผู้สูงอายุ มีอาการอย่างไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง

สาเหตุของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากอายุที่มากขึ้นทำให้หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตามวัย บางรายเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกขาดจนทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาและอาจกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังเด่นชัดนำมาก่อนแล้วตามด้วยอาการปวดหลังร้าวลงขา อาจมีอาการชา อ่อนแรง หรือขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยลักษณะอาการมักจะสัมพันธ์กับกิจกรรมและการใช้งานของหลัง

นพ.ชุมพล คคนานต์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่า เนื้อของหมอนรองกระดูกสันหลังจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้หมอนรองกระดูกมีความยืดหยุ่นที่ลดลง จนไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม ทำให้เกิดอาการปวดและมีอาการอื่นๆ ของโรคนี้ตามมา ภาวะการเสื่อมสภาพนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงอายุ 30-40 ปี จากนั้นอาการจะแย่ลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มักจะมีปัญหาหมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ในขณะที่บางรายอาจไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

ส่วนสาเหตุที่พบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ได้แก่ การใช้งานและกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ เช่น ยกของหนักผิดท่าบ่อยๆ การนั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน การขับรถนานๆ น้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน การเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ เพราะคนที่สูบบุหรี่จะทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หมอนรองกระดูกสันหลังได้น้อยลง ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมและเคลื่อนได้เร็วขึ้น

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดคอ หรือปวดหลังแบบเป็นๆ หายๆ แต่บางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรัง หรือปวดแบบรุนแรงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  1. ปวดหลังเรื้อรัง
  2. ปวดร้าวลงขา
  3. กระดูกสันหลังติดแข็งและขยับตัวลำบาก
  4. ชา อ่อนแรง และเป็นเหน็บที่บริเวณ มือ แขน เท้า ขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

ในกรณีที่มีการกดเบียดเส้นประสาทรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเดินลำบาก ไม่สมดุล เหมือนจะหกล้มได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันได หรือก้าวขาขึ้นรถ เป็นต้น

7 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

นอกจากเรื่องของการเสื่อมตามวัยด้วยอายุที่มากขึ้นแล้ว พฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างที่เรามักจะทำเป็นประจำจนติดเป็นนิสัยก็ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยเช่นกัน

1. มีน้ำหนักตัวมากเกินไป

การปล่อยให้ตัวเองมีน้ำหนักที่มากจนเกินไป โดยเฉพาะภาวะอ้วนลงพุง จะส่งผลให้หลังต้องรับน้ำหนักที่มาก ทำให้หลังแอ่นและกระดูกสันหลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักตลอดเวลา หมอนรองกระดูกจึงมีโอกาสเสื่อมหรือแตก ปลิ้นได้ง่ายกว่าคนที่มีรูปร่างผอม

2. อุบัติเหตุ-การแบกของหนัก

อุบัติเหตุที่ส่งผลต่อกระดูกนั้นมีอยู่บ้าง อย่างเช่น รถเบรกกะทันหัน เล่นกีฬาบิดแรงจนหมอนรองกระดูกฉีกทันที แต่แบบนี้มักเกิดขึ้นน้อย อุบัติเหตุจากการแบกของหนักที่ทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขา กระดูกจึงบิดและเคลื่อนได้

3. การใช้งานผิดท่า

พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ การนั่งหลังไม่พิงพนัก หลังงอ ก้มคอ ทำงานเป็นเวลานาน ใช้ร่างกายหนัก พักผ่อนน้อย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป หรือแม่บ้านที่ก้มๆ เงยๆ ยกของโดยไม่ระมัดระวัง บุคคลที่นั่งขับรถเป็นระยะทางไกลๆ เป็นประจำ ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคจึงควรจัดระเบียบท่าทางร่างกายให้เหมาะสม เช่น การยกของ การนั่งที่ถูกวิธี

4. การสูบบุหรี่จัด

เป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะผู้ที่สูบบุหรี่มากๆ มีโอกาสเกิดการเสื่อมของหมอนรองกระดูก หรือหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นค่อนข้างมาก จากการที่ควันสูบบุหรี่จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังได้ไม่ดี ทำให้เสียคุณสมบัติการยืดหยุ่น การใช้งานไม่ค่อยดี ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาได้

5. ขาดการออกกำลังกาย

ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อหมอนรองกระดูกได้มากขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกบริเวณสันหลัง และช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงและยืดหยุ่น แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่ดี แต่หากออกกำลังกายหนักเกินไป ก็จะเป็นการสร้างภาระให้กับข้อกระดูกได้โดยจะเห็นได้ ซึ่งเรามักเห็นในนักกีฬาอาชีพที่มีปัญหาข้อกระดูกเสื่อมอย่างรวดเร็ว

6. แฟชั่นการแต่งกาย

ทั้งการสะพายกระเป๋าหนักๆ เพียงข้างเดียว กล้ามเนื้อมัดที่เกี่ยวข้อง ถูกใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการปวดไหล่ เนื่องจากกล้ามเนื้อและกระดูกต้องรับน้ำหนักมากจนทำให้กระดูกคดงอได้ วิธีที่เหมาะสมคือ เลือกใช้กระเป๋าน้ำหนักเบา บรรจุของในกระเป๋าแต่พอดี และสลับด้านสะพายระหว่างข้างซ้ายและขวาให้เท่าๆ กันหรือสวมรองเท้าส้นสูง 1 นิ้วครึ่งในสุภาพสตรี การใส่ส้นสูงอาจช่วยเสริมสร้างบุคลิกให้ดูสง่าขึ้นแต่ข้อเสียก็คือการใส่รองเท้าที่สูงเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังที่เกิดจากความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังได้

7. การนอนผิดท่า

โดยเฉพาะการนอนคว่ำเพื่ออ่านหนังสือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากจนผิดปกติ ทั้งยังก่อให้เกิดอาการปวดคอและปวดหลังอีกด้วย นอกจากนี้นอนขดตัวคุดคู้ การนอนหดแขนและขาจะทำให้กระดูกสันหลังบิดงอ ผิดรูป และเกิดอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อได้ ท่านอนที่ถูกต้องนั้น แนะนำให้นอนหงายและใช้หมอนหนุนศีรษะที่ไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการนอนบนหมอนที่สูงเกินไป การนอนดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือที่คนทั่วไปมักติดนิสัยนอนเอนหลัง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนไถลตัวไปบนโซฟาหรือเตียงนอน ทำให้ต้องงอลำคออันอาจเป็นผลให้กระดูกคอสึก และเกิดอาการปวดหลัง เพราะกระดูกหลังแอ่น

สำหรับการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทโดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่รักษาด้วยการกินยา การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้อง การปรับพฤติกรรมในการนั่งทำงาน แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็กที่ช่วยลดความเจ็บและลดระยะเวลาการพักฟื้นของผู้ป่วยได้

อย่างไรก็ตาม วิธีที่ดีที่สุดคือควรป้องกันตนเองก่อนที่ป่วยด้วยการปรับพฤติกรรมเพื่อเสริมกล้ามเนื้อหลัง เพื่อป้องกันกระดูกสันหลังเสื่อม เช่น การว่ายน้ำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของหมอนรองกระดูก เช่น งดยกของหนักในท่าที่ผิด เลี่ยงการนั่งในท่าเดิมนานๆ ควรลุกขึ้นทุกๆ 2 ชม. ห้ามนั่งยองๆ หรือนั่งกับพื้นนานๆ จะสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกได้

เครื่องออกกำลังกาย ASDwellness อุปกรณ์

Shoulder Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอกและหลัง

Chest Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ไหล่ แขน หน้าอก

Pec Deck

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าอก ไหล่และหลัง

Arm Flexion/Extension

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ แขน และต้นแขน

Abdominal/Back

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หน้าท้อง และหลัง

Back Extension

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ หลัง และหน้าท้อง

Leg Press

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ขา และสะโพก

Adduction/Abduction

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านใน และด้านนอก

Leg Extension/Leg Curl

เครื่องออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ
เพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง

ที่มา : โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ, โรงพยาบาลพญาไท , www.thairath.co.th

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ WWW.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://www.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

#เช็กอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทภัยเงียบของผู้สูงอายุและวัยทำงาน #ฝึกระบบประสาทและความสามารถในการรับรู้เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุพร้อมป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม #หกล้ม #ล้มในผู้สูงวัย #ผู้สูงอายุหกล้ม #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย  #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหาร

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!