สะโพกหัก..ภัยคุกคาม…ผู้สูงอายุ

สะโพกหัก..ภัยคุกคาม…ผู้สูงอายุ

โลกกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในหลายประเทศ ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย ที่หลายประเทศเดินหน้าไปก่อนแล้ว ทั้งญี่ปุ่น สิงคโปร์ ตามด้วยไทยในปี 2566 นี้

การหกล้มเป็นอุบัติเหตุหนึ่งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุแบบไม่คาดคิด ซึ่งกระดูกส่วนที่พบว่ามีการหักได้บ่อยหากเกิดอุบัติเหตุหกล้มของผู้สูงอายุคือ กระดูกสะโพกหัก ที่แม้จะไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้

กระดูกสะโพกหัก เป็นภาวะกระดูกหักบริเวณกระดูกต้นขาส่วนต้น ตั้งแต่คอกระดูกต้นขา Intertrochanteric Area ไปจนถึง Subtrochanteric area สาเหตุของการหักส่วนใหญ่มาจากอุบัติเหตุ แต่ก็อาจมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆที่ทำให้หักได้ง่ายมากขึ้น โดยสามารถแบ่งกลุ่มคนไข้กระดูกสะโพกหักออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกัน 

1.กลุ่มคนไข้อายุไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการประสบอุบัติเหตุรุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง เป็นต้น

2. กลุ่มคนไข้ผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย จึงทำให้เมื่อประสบอุบัติเหตุแม้ไม่รุนแรง เช่น เพียงแค่ล้มเบาๆก็อาจทำให้กระดูกสะโพกหักได้

3.กลุ่มคนไข้ที่กระดูกมีปัญหาอยู่แล้ว กลุ่มนี้เป็นได้ทั้งคนที่มีอายุน้อยและผู้สูงอายุ แต่ไม่เคยทราบมาก่อนว่ากระดูกสะโพกมีปัญหา เช่น มีเนื้องอกบริเวณกระดูกสะโพก ระบบการหมุนเวียนแคลเซียมและฟอสเฟตที่ผิดปกติ จากการทำงานของต่อมไร้ท่อหรือไตที่ผิดปกติ จนเป็นเหตุให้โครงสร้างกระดูกไม่แข็งแรง เมื่อประสบอุบัติเหตุ ถูกกระแทก ถูกชน กระดูกสะโพกจึงหักง่ายกว่าคนปกติ

หลังหกล้มบางคนอาจไม่คิดว่าจะถึงขั้นกระดูกหักโดยเฉพาะกระดูกสะโพก อาการสำคัญที่บ่งบอกว่าอาจจะมีกระดูกสะโพกหัก ที่สังเกตได้ คือ มีอาการปวด บวม บริเวณสะโพกหรือขาหนีบ ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ หรือเดินแล้วเจ็บ หลังจากล้มลงมีอาการเจ็บสะโพกลุกขยับตัวไม่ได้ ในกรณีที่กระดูกสะโพกหักและรอยหักเคลื่อน จะพบว่ามีลักษณะขาผิดรูปสั้นลงแบบหมุนแบะออก มีรอยเขียวช้ำบริเวณด้านข้างสะโพก

การวินิจฉัยกระดูกสะโพกหักโดยทั่วไปแค่เอกซเรย์ก็สามารถรู้ได้แล้วกว่า 90% แต่ถ้าภาพเอกซเรย์ไม่ชัด แพทย์อาจสั่งให้ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ MRI ร่วมด้วย ซึ่งเมื่อผลการวินิจฉัยแน่ชัดแล้วว่ากระดูกสะโพกหัก การรักษาส่วนมากก็คือการผ่าตัดเป็นหลัก โดยใน กลุ่มคนไข้อายุน้อย ใช้การผ่าตัดซ่อมแซม ยึดให้กระดูกกลับมาติดต่อกันในตำแหน่งที่เหมาะสม กลุ่มคนไข้สูงอายุ จะมีแนวทางการรักษา 2 วิธีด้วยกัน คือ การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกที่หักด้วยโลหะและการเปลี่ยนข้อสะโพก ซึ่งขึ้นกับตำแหน่งการหัก ลักษณะการหัก และการเคลื่อนของกระดูกที่หัก กลุ่มคนไข้ที่มีเนื้องอกหรือมีความผิดปกติด้านระบบเผาผลาญที่ทำให้โครงสร้างกระดูกผิดปกติ จะต้องหาสาเหตุก่อนว่ากระดูกสะโพกหักจากอะไร แล้วดำเนินการรักษาที่ต้นเหตุนั้น เช่น เนื้องอกกระดูกที่เป็นมะเร็งปฐมภูมิ ถ้าไม่ใช่อยู่ในระยะแพร่กระจาย จะผ่าตัดกระดูกที่มีเนื้องอกออกแล้วเปลี่ยนใหม่เป็นอวัยวะเทียมมาทดแทนกระดูกต้นขาที่ตัดออก เป็นต้น

ความเสี่ยงรุนแรงของการผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ จากการศึกษาพบว่าอัตราการเสียชีวิตภายใน 1 ปีนั้นสูงถึง 20-35% เลยทีเดียว ส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้นจากการนอนติดเตียง อาทิ ปอดแฟบ ปอดอักเสบติดเชื้อ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือเกิดแผลกดทับบริเวณด้านหลังที่นำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงได้ หรือถ้าไม่ได้รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ก็อาจทำให้คนไข้ตกอยู่ในภาวะพิการ เดินไม่ได้ หรือเดินกะเผลกจากการที่กระดูกติดผิดรูปจนขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

ทางที่ดีควรป้องกันก่อนสาย ด้วยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายด้วย อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ที่เป็นทคโนโลยีแรงต้านจากกระบอกสูบไฮดรอลิค ที่ใช้การเคลื่อนที่แบบต่อเนื่องด้วยความเร็วคงที่สมดุลอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เกิดการกระซาก จึงทำให้การออกกำลังอย่างปลอดภัย ลดอาการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย และยังสามารถปรับแรงต้านได้ถึง 12 ระดับ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ จะดีกว่าการรอให้เกิดอุบัติเหตุ แล้วรักษา

การดูแลพักฟื้นหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหักถือเป็นขั้นตอนสำคัญมากเพราะคนไข้จะหายดีกลับมาใช้ชีวิตเดินได้อย่างเป็นปกติเร็วมากแค่ไหน ไม่ใช่เพียงแค่การผ่าตัดที่เหมาะสม แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลหลังผ่าตัดด้วย ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้กระตุ้นร่างกายด้วยการขยับข้อเท้า ขยับขาทั้ง 2 ข้างที่ผ่าตัด เพื่อลดภาวะส่งเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยหลังผ่าตัดเสร็จใหม่ๆ และเป็นอันตรายหากส่งเลือดเคลื่อนไปที่ปอด เฝ้าระวังภาวะซีด เนื่องจากเวลากระดูกสะโพกหักจะมีการเสียเลือดภายในซึ่งเป็นเลือดที่ออกในบริเวณที่เกิดกระดูกหัก จึงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเป็นอันตรายได้ โดยถ้าพบว่าคนไข้มีภาวะซีดก็จะต้องมีการให้เลือดเพิ่ม

หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการลุก นั่ง ฝึกนั่งเต็มตัว ห้อยขาแบบไม่ต้องพิงหลัง เมื่อทรงตัวได้ดีขึ้นแล้วจะเข้าสู่การฝึกยืน ซึ่งโดยทั่วไป 80-85% ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดจะอนุญาตให้ลงน้ำหนักได้ทันที ซึ่งเมื่อยืนได้แล้วก็จะค่อยๆฝึกเดินโดยใช้ไม้เท้าพยุง 4 ขา หรือ Walker จนเมื่อเริ่มก้าวเดินได้ดี ก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้

โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาพักฟื้นใน รพ.หลังผ่าตัดประมาณ 3-4 วัน เป้าหมายหลักของการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ ทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนปกติก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก และป้องกันการล้มซ้ำในอนาคต.

————————————————–

สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ WWW.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://www.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

#สะโพกหักภัยคุกคามผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย  #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหารขา #บริหารหน้าท้อง #บริหาร #ลดแรงเสียดทาน #สร้างกล้ามเนื้อ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!