กล้ามเนื้อลีบ หรือ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัย

กล้ามเนื้อลีบ หรือ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัย

กล้ามเนื้อลีบ หรือ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัย

ภาวะ “กล้ามเนื้อลีบ” หรือ Sarcho penia เป็นปัญหาที่พบประมาณ 10% ของผู้สูงวัยที่อายุ 50 ปีขึ้นไป นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว บอกว่า สาเหตุหลักๆของการเกิดกล้ามเนื้อลีบในคนสูงอายุมี 4 สาเหตุหลักๆคือ

1.มีการใช้งานกล้ามเนื้อน้อยลง หมายถึง มีกิจกรรมในชีวิตน้อย วันๆนั่งอยู่บนโซฟาหรือเก้าอี้ประจำตำแหน่งจนโซฟาเป็นหลุม กิจกรรมที่ทำอย่างมากก็ดูจอ จิ้มจอ ยิ่งคนมีลูกหลานหรือมีผู้ดูแลประจำยิ่งอาการหนัก อยากได้อะไรก็เรียกคนไปหยิบให้ ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอนแทบจะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย งานวิจัยพบว่าแค่ผู้สูงอายุไม่ได้เดินออกกำลังกายเพียงสองสัปดาห์ก็สามารถเกิดกล้ามเนื้อลีบได้แล้ว

2.อาหารไม่เพียงพอ พูดง่ายๆว่ากินอาหารที่ให้แคลอรีน้อยเกินไป เมื่อแคลอรีจากอาหารไม่พอ ร่างกายก็จะสลายเอากล้ามเนื้อออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน

3.ความเครียด ซึ่งทำให้เกิดฮอร์โมนเครียดที่เรียกว่า คอร์ติซอล ที่เป็นตัวสลายเอากล้ามเนื้อออกมาทำเป็นพลังงาน ความเครียดต่อร่างกายของผู้สูงวัยที่พบบ่อยก็คือ การป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น หัวใจล้มเหลว โรคไตเรื้อรัง

4.ภาวะการอักเสบในร่างกาย เพราะร่างกายคนสูงอายุระบบต่างๆจะอ่อนแอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบภูมิคุ้มกันโรคจะอ่อนกำลังลงไปมาก ทำให้ติดเชื้อง่าย บางครั้งก็เป็นการติดเชื้อซุ่มซ่อนยืดเยื้อเรื้อรัง เช่น ถุงลมหายใจโป่งพองแล้วติดเชื้อในปอดเรื้อรัง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เหงือกอักเสบเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งวัณโรคฉบับเรื้อรัง บางครั้งการอักเสบไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแต่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือการอักเสบของหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

“ภาวะกล้ามเนื้อลีบแม้จะดูเหมือนไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ มีสถิติยืนยันชัดเจนว่า ผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อลีบจะตายเร็วกว่าผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อไม่ลีบ หรือถ้าไม่ตาย ก็อาจจะพัฒนาไปสู่การนอนติดเตียง ชีวิตไม่มีคุณภาพ” คุณหมอสันต์บอก

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ยังบอกด้วยว่า ภาวะกล้ามเนื้อลีบสามารถป้อง กันได้ด้วยการ ออกกำลังกาย มีงานวิจัยพบว่า ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายแบบเล่นกล้าม แอโรบิก หรือฝึกการทรงตัว ล้วนมีผลทำให้มวลกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นได้ทั้งสิ้น

และจะดีมากถ้าสามารถออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือเล่นกล้ามให้มากๆ คำว่าเล่นกล้าม หมายความว่า ยกอุปกรณ์หนักๆ เช่นดัมเบลหรือดึงสู้กับแรงต้านแยะๆ เช่น สายยืดหรือสปริง งานวิจัยพบว่าการทำแบบนี้จะเกิดการเผาผลาญพลังงานในกล้ามเนื้อมาก เกิดกล้ามเนื้อบาดเจ็บ เกิดกล้ามเนื้อตาย แล้วตามมาด้วยการสร้างกล้ามเนื้อใหม่ซึ่งยังผลให้มวลกล้ามเนื้อมีมากขึ้นและแข็งแรงขึ้น

“เคยมีงานวิจัยให้คนสูงอายุระดับ 65-94 ปีจำนวน 57 คนเล่นกล้ามจริงจังพบว่าสามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงขึ้นมาได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนังภายในเวลาเพียง 12 สัปดาห์ ซึ่งถ้าอยากมีกล้ามเร็วๆ ก็เริ่มวันนี้เลย อีกสามเดือนเห็นผล” คุณหมอสันต์ บอกและว่า แต่ถ้าไม่ถนัดเล่นกล้าม แค่ขยันออกเดินก็ได้ มีงานวิจัยที่ญี่ปุ่นให้คนสูงอายุ เกิน 65 ปี จำนวน 227 คนออกเดินวันละชั่วโมงทุกวันนาน 6 เดือนก็พบว่าทำให้มวลและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นมาได้เหมือนกัน โดยเฉพาะการเดินแบบเร็วๆ (brisk walk) เพราะอีกงานวิจัยหนึ่งซึ่งทำให้คนสูงอายุ เกิน 60 ปี จำนวน 879 คน พบว่าพวกที่เดินเร็วจะเกิดกล้ามเนื้อลีบน้อยกว่าพวกเดินช้า

เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องคือ อาหาร คุณหมอ สันต์บอกว่า คนที่กล้ามเนื้อลีบเกือบจะร้อยทั้งร้อยกินแคลอรีหรืออาหารให้พลังงานไม่พอ ทำให้ร่างกายต้องไปสลายเอากล้ามเนื้อออกมาเป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานแทน ดังนั้น จึงควรปรับเปลี่ยนอาหารโดยเพิ่มอาหารให้พลังงานให้พอก่อน คือ ต้องขยันกินธัญพืชไม่ขัดสีและพืชที่ไขมันสูง เช่นถั่ว งา นัท อะโวคาโด ให้มากขึ้น เมื่ออาหารให้พลังงานพอแล้ว ก็ค่อยมาดูว่าโปรตีนต้องเพียงพอด้วย ซึ่งวิธีง่ายที่สุดสำหรับผู้สูงวัยก็คือกินโปรตีนผงละลายน้ำเสริมเข้าไป จะเป็นโปรตีนผงที่ทำจากพืชหรือจากนมที่เรียกว่าเวย์ก็ได้ตามใจชอบ ในแง่ของการดูดซึมโปรตีนผง งานวิจัยพบว่าร่างกายผู้สูงอายุสามารถดูดซึ่งโปรตีนผงเข้าสู่ร่างกายได้ถึงครั้งละ 35 กรัม แต่งานวิจัยซึ่งทำในคนวัยหนุ่มสาวพบว่าแค่เสริมโปรตีนผงวันละ 20 กรัมควบกับการเล่นกล้ามก็ทำให้กล้ามขึ้นได้สูงสุดแล้ว อีกอย่างคือ วิตามินดี มีการศึกษาพบว่า การขาดวิตามินดีกับการเกิดกล้ามเนื้อลีบนั้นมีความสัมพันธ์กันแน่นอน แต่ยังไม่มีงานวิจัยระดับเชื่อถือได้ที่ทดลองให้กินวิตามินดีรักษาภาวะกล้ามเนื้อลีบเปรียบกับยาหลอก อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าใครก็ตามที่กล้ามเนื้อลีบ ควรตรวจเลือดดูระดับวิตามินดี หากระดับวิตามินดีต่ำ ควรขยันออกแดด และอาจกินวิตามินดีเสริมจนกว่าระดับวิตามินดี จะกลับมาอยู่ในระดับปกติ ไขมันโอเมก้า 3 งานวิจัยเปรียบเทียบพบว่าการกิน ไขมันโอเมก้า 3 สามารถเพิ่มการสร้างมวลกล้ามเนื้อจากอาหารโปรตีนได้ หากเป็นเนื้อสัตว์ก็จะมีในปลา หากเป็นอาหารพืชก็จะมีในถั่วและนัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งวอลนัท

จัดการความเครียด ในส่วนของความเครียดต่อร่างกายก็หมายถึงการค้นหาโรคเรื้อรังที่ซุ่มซ่อนอยู่แล้วรักษาเสีย อย่างน้อยควรไปตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจดูระดับสารชี้บ่งการอักเสบในร่างกาย (CRP) หากสูงผิดปกติก็ต้องตรวจค้นหาต่อไปถึงแหล่งติดเชื้อหรือการอักเสบในร่างกาย รวมทั้งตรวจคัดกรองโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ด้วย ในส่วนของความเครียดด้านจิตใจ ก็ต้องนั่งสมาธิ (meditation) เพื่อวางความคิดก่อนนอนทุกคืน ทุกวันทำใจให้ร่มๆ กำหนดอารมณ์ความคิดออกมาจากความสงบเย็นที่ข้างในไม่ใช่ปล่อยให้ความคิดและอารมณ์ถูกกำหนดโดยสิ่งเร้าจากภายนอก ถ้ามีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับก็ต้องปรับสุขศาสตร์ของการนอนหลับ คือเลิกสารกระตุ้นประสาทและสมองให้หมด เข้านอนเป็นเวลา จัดห้องนอนให้มืดเงียบและเย็น นอนให้พออย่างน้อยคืนละ 7-9 ชม. การออกกำลังกายให้เหนื่อยและขยันออกแดดจะช่วยให้หลับง่ายขึ้น.

พราะความแข็งแรงและมวลกล้ามเนื้อฝ่อลงตามวัย ผู้สูงวัยหลายคนจึงประสบกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยทั่วไปคนเราจะมีมวลกล้ามเนื้อสูงที่สุด (Peak Muscle Mass) ที่ช่วงอายุ 30 – 40 ปี หลังจากอายุ 40 ปี มวลกล้ามเนื้อก็จะเริ่มลดลงร้อยละ 1 – 2 ต่อปี ในช่วงแรกอาจจะยังไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อหลังอายุ 50 – 60 ปี ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก็จะลดลงด้วย ประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี และลดลงเร็วขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น จนเริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหลังอายุ 65 ปี ดังนั้นการรู้เท่าทันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ

กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อลดลง

รู้จักภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย หรือ Sarcopenia คือ การสูญเสียมวลของกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งภาวะนี้ถือเป็นกลุ่มอาการของผู้สูงอายุ (Geriatric Syndrome) ที่พบบ่อยถึง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั่วไป

อาการต้องสังเกต

อาการของผู้สูงอายุที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย ได้แก่

  • ลุกนั่งลำบาก
  • ทรงตัวไม่ดี
  • หกล้มบ่อย ๆ
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ตั้งใจ
  • เพิ่มความเสี่ยงของภาวะกระดูกหัก ภาวะเปราะบาง
  • เหนื่อยง่ายจนจำกัดความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • คุณภาพชีวิตลดลง
  • อาจเกิดโรคซึมเศร้า
  • เพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ

แบบนี้เรียกภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

หลักฐานที่บ่งชี้ถึงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ได้แก่ มวลกล้ามเนื้อลดลงร่วมกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง หรือสมรรถภาพทางกายลดลง โดยเครื่องมือที่ใช้ประเมินมวลกล้ามเนื้อ คือ Bioelectrical Impedence Analysis (BIA) เครื่องมือที่ใช้ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ คือ การวัดแรงบีบมือ (Hand – Grip Strength) และเครื่องมือที่ใช้ประเมินสมรรถภาพคือ การวัดความเร็วของการเดินปกติ (Gait Speed)

ป้องกันรักษาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

การป้องกันและรักษาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยต้องประกอบด้วย 3 สิ่งต่อไปนี้ควบคู่กัน

  1. ออกกำลังกายชนิดเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Resistive Exercise) ควรทำอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร่วมกับการออกกำลังชนิดเพิ่มความทนทาน (Aerobic Exercise) จะช่วยให้มีการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อและช่วยให้ไขมันในกล้ามเนื้อลดลง
    เครื่องตรวจวัดวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกาย Body Composition Analyzer IN-F500เครื่องตรวจวัด วิเคราะห์และฝึกความสมดุลของร่างกาย หรือการทรงตัว Smart Balanceอุปกรณ์ฝึกความสมดุล และระบบประสาทสัมผัส hur senso ฝึกการทรงตัว ทดสอบระบบประสาท ทดสอบการทรงตัวจักรยานนั่งเอนปั่นออกกำลังกาย Recumbent Bike IR6500 สำหรับผู้สูงอายุลู่วิ่งไฟฟ้า Commercial Treadmill รุ่น ASD-600Aเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไหล่ หน้าอก และหลัง Pec Deck อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไหล่ หน้าอก และหลัง เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASD เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokineticเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อขา เข่า และน่อง Leg extension Leg curl อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อขา เข่า และน่อง เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASD เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokineticเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อขา และสะโพก Leg Press อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อขา และสะโพก เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASD เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokineticเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไหล่ แขน และหน้าอก Chest Press อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไหล่ แขน และหน้าอก เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASD เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokineticเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อแขน Arm Flexion Extension อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อแขน เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASD เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokineticเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง และหลัง Abdominal Back อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง และหลัง เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASD เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokineticเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อต้นขา และสะโพก Adduction Abduction อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อต้นขา และสะโพก เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASD เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokineticเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไหล่ แขน หน้าอกและหลัง Shoulder Press อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อไหล่ แขน หน้าอกและหลัง เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokinetic เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASDเครื่องออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง และหลัง Back Extension อุปกรณ์ออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง และหลัง เครื่องออกกำลังกายASD อุปกรณ์ออกกำลังการASD เครื่องออกกำลังกายasd อุปกรณ์ออกกำลังกายasd เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ระบบแรงต้าน ไอโซคิเนติก ไฮโดรลิค ไฮโดรลิก Hydraulic Isokinetic
  2. อาหาร ควรได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นชนิดลิวซีนสูง เช่น ถั่วเหลือง เนื้อปลา เนื้อวัว เพื่อป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและเพิ่มเส้นใยของกล้ามเนื้อ
  3. ปรับเปลี่ยน Lifestyle ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ หยุดสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รักษาโรคเรื้อรังที่เป็นสาเหตุ

การป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัยสำคัญมากกว่าการรักษา เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อเริ่มลดลงตั้งแต่อายุ 40 ปี เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตั้งแต่เนิ่น ๆ คือสิ่งที่จะช่วยป้องกันอย่างเห็นผล อย่างไรก็ตามหากใครยังไม่เริ่ม ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเริ่มต้นที่ดีตั้งแต่วันนี้

————————————————–
สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ค่ะ
#พบกับโปรโมชั่นสุดเร้าใจ ผ่อนสบาย แบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือน
หรือจะเป็นระบบเช่ารายเดือนก็มีให้บริการนะคะ
ASWELLCARE http://aswellcare.com/ มีหน้าร้านพระราม 2 ซอย. 42
 เปิดทุกวัน จันทร์ – เสาร์ 8.00น. – 17.00น.
เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจอยากทดสอบครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย
#คุณภาพดี ราคาถูก เหมือนยกฟิตเนสไปไว้ที่บ้านในราคาเบาๆ
เข้ามาทดลองสินค้าที่ WWW.ASWELLCARE.COM ได้เลยค่ะ
สนใจติดต่อกันเข้ามาได้เลยนะคะ ยินดีให้บริการค่ะ
#inbox https://www.facebook.com/aswellcare
#Tel : 099-498-1818

#กล้ามเนื้อลีบ หรือ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัย #ฝึกระบบประสาทและความสามารถในการรับรู้เพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุพร้อมป้องกันความเสี่ยงในการหกล้ม #หกล้ม #ล้มในผู้สูงวัย #ผู้สูงอายุหกล้ม #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายผู้สูงวัย  #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ #เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #อุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย #เครื่องออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #ลู่วิ่ง #ผู้สูงอายุ #ผู้สูงวัย #กระตุ้นการทำงานของหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต #การหมุนเวียนโลหิต #บริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด #เครื่องบริหารกล้ามเนื้อ #aswellcare.com #aswellcare #เครื่องออกกำลังกายระบบไฮดรอลิค  #Hydraulic #HydraulicCylinder #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #อุปกรณ์ฟื้นฟู #อุปกรณ์บำบัด #ฟื้นฟู #บำบัด #อุปกรณ์ฝึกนิ้วมือ #อุปกรณ์ฝึกการหยิบจับ #มืออ่อนแรง #ฝึกนิ้วมือ #อัมพฤกษ์ #อัมพาต #บทความสุขภาพ #วีดีโอสุขภาพ #การดูแลผู้สูงวัย #การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ #ไร้แรงกระแทก #ไฮดรอลิค #ฝึกกล้ามเนื้อ #การเคลื่อนไหว #ข้อกระดูก #ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อ #บริหารกล้ามเนื้อต้นแขน #บริหารกล้ามเนื้อต้นขา #บริหารกล้ามเนื้อสะโพก #บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง #บริหารกล้ามเนื้อหลัง #บริหารกล้ามเนื้อแขน #บริหารกล้ามเนื้อไหล่ #บริหารไหล่ #บริหารขา #บริหารหน้าท้อง #บริหาร #ลดแรงเสียดทาน #สร้างกล้ามเนื้อ

ปรึกษาเราได้ที่นี่
error: Content is protected !!